การออกแบบอาร์ตทอยด้วยแรงบันดาลใจจากลวดลายบนซุ้มประตูพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและลวดลายบนซุ้มประตูของพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์อาร์ตทอยด้วยการประยุกต์ลวดลายบนซุ้มประตูของพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาร์ตทอยที่ออกแบบใหม่ เก็บข้อมูลจจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านลวดลายศิลปกรรมล้านช้าง และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอาร์ตทอย แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาร์ตทอยจากกลุ่มผู้ที่สนใจและชื่นชอบในงาน ของเล่น ของสะสม จำนวน 100 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบอาร์ตทอยด้วยแรงบันดาลใจจากลวดลายบนซุ้มประตูของพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก โดยการนำลวดลายสัตว์ประจำทิศทั้ง 4 ทิศ มาใช้ในการออกแบบเป็นออกแบบผลิตภัณฑ์อาร์ตทอยจำนวน 5 แบบ ได้แก่ ครุฑ นาค ช้างเอราวัณ ช้าง และสิงห์ ผลิตจากเรซิ่น โดยขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบาและผิวเรียบ สามารถตกแต่งสีผิวได้ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่สนใจและชื่นชอบในงานของเล่น ของสะสม และออกแบบโมเดลซุ้มประตูทั้ง 4 ซุ้มจากลวดลายซุ้มทั้ง 4 ทิศพร้อมบรรจุภัณฑ์ ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า อาร์ตทอยที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คืออาร์ตทอยครุฑ (ค่าเฉลี่ย 4.56) อาร์ตทอย นาค (ค่าเฉลี่ย 4.53) ส่วนอาร์ตทอยที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ ทอยช้างเอราวัณ (ค่าเฉลี่ย 4.49) อาร์ตทอยช้าง (ค่าเฉลี่ย 4.49) และอาร์ตทอยสิงห์ (ค่าเฉลี่ย 4.39)
Article Details
References
กัลยรัตน์ ไม้น้อย. (2564). เปิดโลกของเล่นที่ข้ามเส้นมา ‘บูชา’ ได้. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2566, จาก https://www.ili-co.me/u/2021/07/lucky-art-toy
โกเมศ กาญจนพายัพ. (2559). การศึกษารูปทรงเพื่อสร้างงานประติมากรรม Art Toy. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยรังสิต.จาก https://www.doyourwill.co.th/post/creativeeconomy
ดา นานาวัน. (2559). กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ – เพิ่มความล้ำค่าจากทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย. อุตสาหกรรมสาร. 48(4), 9. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก https://e-journal.dip.go.th/dip/images/ejournal/fd2eaa1aedd740f4b4e32346220a000d.pdf.
ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2560).งานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565, จาก https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=99.
ปรเมธี วิมลศิริ. (2553). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก https://www.doyourwill.co.th/post/creativeeconomy.
วรวิทย์ หทัยวีศ์. (2565). สัมภาษณ์. 31 ตุลาคม 2565.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2560). เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี:
สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี. (2543). มรดกสิ่งแวดล้อมและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี.
อิทธิพล คุณปลื้ม. (2565). วธ. หนุน Soft Power ส่งออกวัฒนธรรมความนิยมไทยสู่สากล สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/60176
Bareo-Isyss. (2019). GALLERY HOME. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2566, จาก https://www.bareo-
isyss.com/service/design-tips/home-gallery.