การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากเส้นใยฝ้ายเหลือใช้ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากเส้นใยฝ้ายเหลือใช้ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเส้นใยฝ้ายเหลือใช้ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 2) เพื่อออกแบบเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากการประยุกต์ใช้เส้นใยเหลือใช้ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบเครื่องแต่งกายจากเส้นใยฝ้ายเหลือใช้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย 3 ท่าน และกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 100 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เส้นใยฝ้ายมีลักษณะทางกายภาพหลายแบบ มีความนุ่มและความเหนียวที่สามารถนำมาขึ้นรูปแบบของสิ่งทอได้หลากหลายเทคนิค ประกอบด้วย การผูก การมัด การปั่นตีเกลียว และการทอบนกี่ ดังนั้นเส้นใยฝ้ายสามารถนำมารีไซเคิลภายใต้แบบแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) ได้ โดยมีค่าการทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2) การออกแบบเครื่องแต่งกายจากเส้นใยฝ้ายรีไซเคิลเป็นคอลเลคชั่น 6 รูปแบบ ประกอบด้วย เสื้อแจ็คเก็ต สูท เสื้อโค้ทยาว เสื้อเชิ้ต เสื้อครอป กางเกง กระโปรง โดยมีแรงบันดาลใจในการออกแบบจากเครื่องแต่งกายสมัยวิคตอเรีย 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านแรงบันดาลใจและวัสดุในการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัยบุรุษ และสตรี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 คความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีจากการประยุกต์ใช้เส้นใยฝ้ายเหลือใช้ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54
Article Details
References
ธำรงค์ สวัสดิ์ราห์กุล, มงคล หวังสถิตย์วงษ์ และทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2562). วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(1), 19-27.
ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2563). การยกระดับฝ้ายด้วยนวัตกรรมสิ่งทอฉลาดฯ. สาขาวิชาการ บริหารการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นวัทตกร อุมาศิลป์ และพัดชา อุทิศวรรณกุล. (2561). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 803-814
ปรีดาศรี สุวรรณ์ และ พัดชา อุทิศวรรณกุล, (2562), การออกแบบแฟชั่นยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: ปริญญามหาบัณฑิต สาขานฤมิตศิลป์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรัชญ์ หาญกล้า. (2556). การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีเพื่อพัฒนางานพื้นถิ่นให้เป็นสินค้าระดับชาติโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รติมา คชนันทน์, (2561), เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy). สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2565, จาก www.parliament.go.th
Baramizitrand. (2565). ATTITUDE TRENDS 2021-22 แนวโน้มทัศนคติผู้บริโภคเพื่อการพัฒนา ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ31 สิงหาคม 2565, จาก www.baramizi.co.th
Digimusketeers. (2563). Eco-Actives กลุ่มผู้บริโภครักษ์โลกที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม (วิเคราะห์). สืบค้นเมื่อ31 สิงหาคม 2565, จาก www.marketeeronline.com