การออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ UNAPAS

Main Article Content

จุฑามาศ พานทอง
รุ่งนภา สุวรรณศรี

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติขวดน้ำพลาสติกรีไซเคิล 2) เพื่อออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ UNAPAS 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ UNAPAS โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยจากกลุ่มประชากรที่ใช้ในโครงการได้แก่บุคคลคนทั่วไปทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่สนใจการออกกำลังกาย จำนวน 100 คน ในเขตปริมณฑล จากสวนเทศบาลลำลูกกา สวน อบต.บึงคำพร้อย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการออกแบบกับกลุ่มผู้ออกกำลังกายเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปสู่การออกแบบ แบบสอบถามความคิดเห็นด้านการออกแบบกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเเละแบบสอบถามความพึงพอใจด้านการออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล กับประชากรกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปจากแบบสอบถามด้วยค่าร้อยละเเละค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิล ภายใต้แบรนด์ UNAPAS


ผลวิจัยพบว่า คุณสมบัติขวดน้ำพลาสติกประเภท PET/PETE มีแข็งทนทานต่อแรงกระแทก ไม่เปราะแตกง่ายสามารถนำมารีไซเคิลได้เป็นผ้า 3 ประเภท Nylon 70D High grade 100% RPET มีคุณสมบัติกันน้ำ, ระบายอากาศได้, แห้งไว, ผ้า Recycle Fabric 100% Polyester มีคุณสมบัติระบายอากาศได้, กันน้ำ และผ้า90% RPET Recycled Polyester 10% Spandex มีคุณสมบัติยืดหยุ่น และระบายอากาศ การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบการใช้ชีวิตตามฤดูกาลในประเทศไทย และแรงบันดาลใจจากพืชกินแมลงที่มีกระบวนการดักจับสิ่งมีชีวิตในแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะเพื่อย่อยเป็นอาหารซึ่งคล้ายคลึงกับกระบวนการของการรีไซเคิลของขวดพลาสติกที่จะต้องมีการพับ การอัด หรือหดทำให้เล็กลงเพื่อการรีไซเคิลเป็นเส้นใย โดยได้นำแนวคิดจากพืชกินแมลงมาเป็นตัวตั้งต้นในการออกแบบชุดออกกำลังกายที่คล้ายคลึงกับพืชกินแมลงและลวดลายที่มาจากฤดูกาลการออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลจำนวน 3 ชุด คือ  ชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลฤดูร้อน ฤดูหนาวและฤดูฝน โดยมีผลประเมินด้านคุณสมบัติการใช้งาน ผลประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง ผลรวมอยู่ในระดับมากมีผลค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.28) ชุดออกกำลังกายที่มีความพึงพอใจต่อการออกแบบมากที่สุดคือฤดูหนาว อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย  (= 4.32) รองลงมาคือ ชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลฤดูฝน ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย  (= 4.30) เเละชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลฤดูร้อน ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม (= 4.29) การออกแบบชุดออกกำลังกายจากวัสดุผ้ารีไซเคิลมีส่วนช่วยในด้านต่อยอดการออกแบบจากวัสดุรีไซเคิลและการขจัดปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากขวดน้ำที่มีปัญหาขยะอยู่ในลำดับต้นๆอีกทั้งยังเป็นผ้าทางเลือกในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา ตันติยาสวัสดิกุล. (2555). การเปลี่ยนรูปวัสดุขยะขวดน้ำดื่มพลาสติกเพื่อใช้งานออกแบบที่กรองแสงลานจอดรถ. รายงานฉบับสมบูรณ์. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณมณ โชตอนันต์กูล. (2555). สัญศาสตร์เพื่อการออกแบบฉลากยาสำหรับผู้มีปัญหาสายตาเลือนราง. ศิลปมหาบัณฑิต สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โดยใช้แนวคิดไดเซ็น : กรณีศึกษาโรงงานน้ำดื่ม. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ธวัชชานนท์ สิปปภากุล. (2548). การยศาสตร์และกายวิภาคเชิงกล. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

ประสิทธิ์ ไกรลมสม. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการเคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวด

ประเสริฐ ศีลรัตนา. (2538). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ไพโรจน์ พิทยเมธี. (2551). การวิเคราะห์องค์ปะกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ไทย.

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2550). มนุษย์และการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ศิลปมหาบัณฑิต สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Picture Organic Clothing. (2562). From Plastic Bottles To Snow Jackets. Retrieved

from: https://www.picture-organic-clothing.com