การออกแบบชั้นวางหนังสือสไตล์ร่วมสมัย ด้วยแรงบันดาลใจจากเชี่ยนหมากอีสาน

Main Article Content

วัชระ ดรจ้ำ
นิติ นิมะลา
เอกพันธ์ พิมพาที

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษารูปแบบและลวดลายเชี่ยนหมากอีสาน เป็นแนวทางในการออกแบบชั้นวางหนังสือ 2) เพื่อออกแบบชั้นวางหนังสือในสไตล์ร่วมสมัย ในศูนย์​ออกแบบสร้างสรรค์​ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC)​ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 3) ประเมินต้นแบบชั้นวางหนังสือจากรูปแบบและลวดลายเชี่ยนหมากอีสาน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตกแต่งภายใน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเชี่ยนหมากอีสาน และกลุ่มผู้ใช้งาน ที่มีความสนใจการออกแบบชั้นวางหนังสือ สไตล์ร่วมสมัย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกรูปแบบของเชี่ยนหมาก พบว่าเชี่ยนอีสานมีสองแบบคือ ทรงสี่เหลี่ยมและทรงคางหมูหรือทรงแอวขันปากพานเป็นทรงที่มีเอกลักษณ์ของเชี่ยนอีสาน ซึ่งเป็นทรงที่คล้ายคลึงกับฐานสิมอีสาน เชี่ยนหมากใช้ไม้มงคลในท้องถิ่น ไม้ยอป่า ไม้จำปา ไม้มะยม ไม้ขนุน หรือไม้เนื้อแข็งไม้มะค่า ไม้ประดู่ ไม้สัก ลวดลายของเชี่ยนหมากจะเป็นลายเส้น ลายเรขาคณิต และลวดลายธรรมชาติ การสร้างลวดลายประดับตกแต่งของเชี่ยนหมากใช้เทคนิคการแกะสลัก การขูดให้เป็นร่อง จึงเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจในการนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบชั้นวางหนังสือที่ใช้ในศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2) ออกแบบชั้นวางหนังสือ มีส่วนที่เป็นชั้นวางหนังสือ ที่ใช้ในศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในรูปแบบร่วมสมัย โดยการนำเอกลักษณ์ของความเป็นเชี่ยนหมากอีสาน มาออกแบบคือรูปทรงแอวขันปากพาน ในส่วนของลวดลายของเชี่ยนหมากใช้ลวดลายเรขาคณิต เทคนิควิธีการสร้างลวดลายตกแต่งบนชั้นวางหนังสือด้วยการแกะสลักลวดลายและการเลเซอร์ความร้อนบนแผ่นเหล็กให้เกิดลวดลายรูปแบบสไตล์ร่วมสมัย และคงความเป็นเอกลักษณ์ของเชี่ยนหมากอีสาน ได้แก่การแกะสลักดุนลายบนไม้ วัสดุที่ใช้ในการผลิตชั้นวางหนังสือทำมาจากไม้สัก ที่มีความแข็งแรงเหมาะสำหรับการนำมาทำชั้นวางหนังสือ 3) จากการประเมินความพึงพอใจต้นแบบของผู้ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นด้านแรงบันดาลใจ รูปแบบ วัสดุในการผลิต ความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย และความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.68)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขาม จาตุรงคกุล. (2560). เชี่ยนหมากอีสาน ความเป็นมา รูปแบบ และคุณค่าทางวัฒนธรรม.มหาวิทยาลัยขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.

ชฎาพร ศรีรินทร์ และ เกษมรัสมิ์ วิวิตรกุลเกษม. (2560). แนวทางการออกแบบชั้นหนังสือในห้อง

สมุดเคลื่อนที่ขนาดเล็กของกรุงเทพมหานครเพื่อกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 10(3), 1769-1786.

ชูเกียรติ เอกวุธ (2557). การศึกษาเพื่อพัฒนาชั้นวางอเนกประสงค์จากวัสดุเหลือใช้. สาขาออกแบบ

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

นภัทร โลหะพงศธร. (2563) .การนวตักรรมสิ่งประดิษฐ์ชั้นวางหนังสือ O2. กรุงเทพฯ: ประกาศณียบัตร สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

บ้านและสวน. (2561). รูปแบบชั้นวางหนังสือ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก

https://www.baanlaesuan.com/22955/ideas/book-shelf-3wyn

พรเทพ เลิศเทวศิริ. (2564). วิธีการเข้าไม้. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2565, จาก : http://

nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/929/1/Boonyarit%20Tatthip.

มาณพ ศิริภิญโญกิจ. (2558) .โครงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ชั้นวาง. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรณี สหสมโชค. (2549). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).