การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุในยุคนิวนอร์มัลสู่งานออกแบบสิ่งทอร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการกับเศษวัสดุที่เหลือจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากหนังสือ บทความวิชาการ บทความจากนิตยสาร รวมไปถึงผลงานการออกแบบสร้างสรรค์จากนักออกแบบและศิลปินทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าในปัจจุบันหลังจากกระบวนการผลิต จะมีการคัดแยกเศษวัสดุที่ได้จากการผลิตเก็บเอาไว้ เนื่องจากเศษวัสดุเหล่านั้นถือเป็นของใหม่ที่ยังไม่ผ่านการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก เศษวัสดุเหล่านั้นจึงกลายเป็นของมีค่าสำหรับนักออกแบบและศิลปินที่จะนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานต่อ โดยการต่อยอดด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการแก้ปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ต่างไปจากอดีตอย่างมาก นั่นคือจากการรีไซเคิล (Recycle) มาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Upcycling) ในขณะเดียวกันสังคมในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่รูปแบบการใช้ชีวิตที่เรียกว่าชีวิตปกติวิถีใหม่ ซึ่งส่งผลให้มีแนวโน้มและแนวความคิดในการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิมเช่นกัน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุในยุคชีวิตปกติวิถีใหม่ อาจจะนำไปสู่แนวทางการออกแบบที่แตกต่างและทำให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ที่มีความร่วมสมัย
Article Details
References
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วย
เศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2570. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ.(2020). "New Normal"วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัว
ของคนไทยหลังโควิด-19:การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (สาขามนุษย์์ศาสตร์์และสัังคมศาสตร์์). 4(3), 371-386.
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2560). นโยบายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
(พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย.
สำนัักงานส่่งเสริิมเศรษฐกิิจสร้้างสรรค์์ (องค์์การมหาชน). (2022). เจาะเทรนด์โลก2022 โดย TCDC.
กรุงเทพฯ: กรุงเทพฯ: สำนัักงานฯ.
สำนัักงานส่่งเสริิมเศรษฐกิิจสร้้างสรรค์์ (องค์์การมหาชน). (2023). เจาะเทรนด์โลก2023 โดย TCDC.
กรุงเทพฯ: สำนัักงานฯ.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). เศรษฐกิจหมุนเวียนคืออะไร.
สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567 จากhttp://carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y2VfaXM=.
Feray Adiguzel and Carmela Donato. (2021). Upcycled versus recycled luxury products.
Luiss Guido Carli.University Rome Italy.
Kate Fletcher (2008). Sustainable Fashion and Textiles, USA:Gutenberg Press, Malta.
Ken Mogi (2018). อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่ = The Little Book of Ikigai. แปลโดย วุฒิชัย กฤษณะประกร
กิจ. กรุงเทพฯ: Move Publishing.
The Standard (2022). ผลงานศิลปะระดับโลก ณ The PARQ: เหตุไฉน ‘โครงการมิกซ์ยูส’ จึงควรมี ‘งานศิลปะ
สาธารณะ’ ตั้งอยู่ภายใน สำคัญอย่างไรต่อผู้คน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก https://thestandard.co/the-
parq/.
Thai PBS (2563). รู้จัก "New Normal" ฉบับราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก