The Effects of Community Art Activities in Rong Mueang Rueang Yim Festival

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ พลประเสริฐ
  • สริตา เจือศรีกุล

คำสำคัญ:

ชุมชนแออัด, การพัฒนาชุมชน, ศิลปะที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน, กิจกรรมศิลปะเพื่อชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษากระบวนการและผลของการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อชุมชน ในมหกรรมรองเมือง เรืองยิ้ม ซึ่งจัดโดยนิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตผู้จัดกิจกรรม จำนวน 25 คน และคนในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะ จำนวน 35 คน เก็บข้อมูลโดยการสอบถามและสัมภาษณ์เกี่ยวกับกระบวนการจัดกิจกรรม และผลของกิจกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม บุคคล และสังคม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า หลักการออกแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อชุมชน ประกอบด้วย 1) งานศิลปะที่สร้างขึ้นต้องสื่อถึงวิถีชีวิตหรืออัตลักษณ์ของชุมชน 2) กิจกรรมมีความสอดคล้องกับบริบทและข้อจำกัดของชุมชน 3) เป็นกิจกรรมที่ง่ายและสนุกเพื่อให้คนไม่มีพื้นฐานด้านศิลปะสามารถมีส่วนร่วมได้ และ 4) คำนึงถึงความสอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนและเป้าหมายของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ผลการประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในกิจกรรม เห็นว่าศิลปะเพื่อชุมชนเป็นประโยชน์ต่อการปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในชุมชน ส่งผลให้เกิดความสุขและความภาคภูมิใจของคนในชุมชน สร้างจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดเรียบร้อยในชุมชน ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตผู้จัดกิจกรรม จึงควรส่งเสริมให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย

Author Biographies

อภิชาติ พลประเสริฐ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สริตา เจือศรีกุล

อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2555). แผนยุทธศาสตร์ตามภารกิจเฉพาะด้านของกระทรวงมหาดไทย ๑๐ ปี.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.ppb.moi.go.th/midev01/upload/8.%2010%20year%20Strategy.pdf [15 พฤษภาคม 2559]
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2555). วิถีชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก. นนทบุรี : สุขศาลา.
วิทยากร เชียงกูล. (2550). อธิบายศัพท์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สายธาร.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (ม.ป.ป). 14แรงบันดาลใจก่อการดีพื้นที่สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: พีเอ็นเอส ครีเอชั่น.
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สิริลักษณ์ แก้วคงยศ. (2532). ชุมชนแออัด ตะกอนบางกอก. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์.
อคิน รพีพัฒน์. (2525). สลัม ปัญหาและแนวทางการแก้ไข. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Barbosa, T. B. (1992). The Role of Education in the Culture and Artistic Development of the Individual: Developing Artistic and Creative Skills. Paper presented at the UNESCO International Conference on Education. 43nd Session, Geneva, Switzerland, Sep. 14-19.
Guetzkow, J. (2002). How the Arts Impact Communities: An Introduction to the Literature on Arts Impact Studies. [Online]. Available from: https://www.princeton.edu/~artspol/workpap/WP20%20-%20Guetzkow.pdf
[2016, March 15]
Marche, T. (1998). Looking outward, looking in: Community in art education. Art Education. 51(3): 6-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29