แบบแผนความเชื่อในวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มเด็กแว้นชนชั้นกลางที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • พิชคุณ เรืองรอง วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

เด็กแว้นชนชั้นกลาง, แบบแผนความเชื่อ, วัฒนธรรมย่อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมย่อย (Subculture) ของกลุ่มเด็กแว้นชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อศึกษาแบบแผนความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติตามกันมาของกลุ่มเด็กแว้นชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal interview) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participative observation) โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 11 คน รวมถึงการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการอีก 10 คน เมื่อได้มาซึ่งข้อมูลผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์โดยนำข้อมูลที่ค้นคว้าจากเอกสารมาเชื่อมโยงกันกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และจะนำเสนอในรูปแบบของการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical research)

ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นด้านวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มเด็กแว้นชนชั้นกลาง มีดังนี้ 1) วัฒนธรรมย่อยด้านพฤติกรรมการแสดงออก 2) วัฒนธรรมย่อยด้านการแต่งกาย และการเลือกใช้รถจักรยานยนต์ และ 3) วัฒนธรรมย่อยด้านทัศนคติของกลุ่มเด็กแว้น และประเด็นด้านแบบแผนความเชื่อที่ยึดถือและปฏิบัติตามกันมา มีดังนี้ 1) แบบแผนในการเสริมความงามรถจักรยานยนต์ 2) แบบแผนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ 3) แบบแผนความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 4) แบบแผนความเชื่อกับความเป็นกลุ่ม และ 5) บทบาทของค่านิยมสั่งสมเป็นความเชื่อ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

ติณณวรรธน์ สิริทรัพย์ทวี. (2558). ค่านิยมทางสังคมและรูปแบบการดำเนินชีวิตส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสติ๊กเกอร์ในแอพพลิเคชั่นไลน์ ของกลุ่มคนวัยทำงานและกลุ่มนักศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

ทศพร กาญจนากาศ. (2528). การศึกษาความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดโรงเรียนรัฐบาลเขตการศึกษา 7 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ปนัดดา ชำนาญสุข. (2551). เร่ง รัก รุนแรง โลกชายขอบของนักบิด. กรุงเทพมหานคร: เปนไท.

พฤทธิสาณ ชุมพล. (2557). ระบบการเมืองความรู้เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งนภา บุญคุ้ม. (2536). ทัศนคติของพัฒนากร ต่อนโยบายการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด: ศึกษากรณีศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Mun, L. (1971). Norman, introduction to psychology. Boston: Houghton Muffin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24