การศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
สมุนไพร, ความหลากหลายของพืชสมุนไพร, ชุมชุนบ้านเชียงเหียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ และการสังเกต กลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลหลัก คือ หมอสมุนไพรพื้นบ้าน จำนวน 5 คน เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรของชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธีพรรณาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
จากการสำรวจความหลายทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในชุมชนบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า มีพืชสมุนไพรทั้งหมด 162 ชนิด โดยจำแนกเป็น ไม้ยืนต้น 62 ชนิด ได้แก่ กระบก มะกอก พะยอม ตีนนก มะตูม มะค่าแต้ รักน้ำเกลี้ยง ผักหวานบ้าน ส้มเสี้ยว หว้าขี้นก นนทรี รัง เป็นต้น ไม้เลื้อย 27 ชนิด ได้แก่ บอระเพ็ด หางไหล เถาประสงค์ เงี่ยงดุกใหญ่ ผักสาบ หนามแดง หมามุ่ย พลูช้าง เป็นต้น ไม้พุ่ม 26 ชนิด ได้แก่ เกล็ดปลาช่อน เงี่ยงดุกน้อย ตำแยแมว นมน้อย สามสิบ พริกป่าใหญ่ รัก มะกา หมาว้อ อีลอก เป็นต้น ไม้เถาล้มลุก 14 ชนิด ได้แก่ กลอย เถาเอ็นอ่อน โมกเครือ ตำลึง นมควาย เถาย่านาง ส้มลม เป็นต้น ไม้ล้มลุก 14 ชนิด ได้แก่ ข่าป่า ข่าลิง พันงูขวา ว่านหาวนอน หญ้าสาบกา พลูช้าง เป็นต้น ไม้พุ่มกึ่งยืนต้น 10 ชนิด ได้แก่ โมก ยอป่า เพกา ตะครอง มะตาด เป็นต้น ไม้พุ่มหลายและหลายสกุล 3 ชนิด ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่โจด ไผ่เพ็ก ไม้พุ่มขนาดเล็ก 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าขัด ทองพันดุล หญ้า 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว หญ้าคา ไม้พุ่มเลื้อย 1 ชนิด ได้แก่ น้ำใจใคร่ และกาฝาก 1 ชนิด ได้แก่ กาฝากมะม่วง
References
โชติอนันต์ อินทุไสตระกูล. สรรพคุณสมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา, 2552.
ทักษิณา ไกรราช. (2549). มิติทางวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ถวิล ชนะบุญและวีระ ทองเนตร. (2552). ปลูกไม้ท้องถิ่น พื้นป่า สร้างคลังยาให้ชุมชน. กรุงเทพฯ :อุษาการพิมพ์.
ถวิล ชนะบุญ และคณะ. (2549). โครงการการศึกษาสถานการณ์ของสมุนไพร กรณีศึกษาบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
พรพรรณ ไม้สุพร. (2551). กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขกับธุรกิจสปา. บทความกฎหมายสาธารณสุข. ศูนย์บริการกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย.
พรสวรรค์ ดิษยบุตร และคณะ. สมุนไพร : การใช้อย่างถูกวิธี. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2543.
ศยามล ไกยูรวงศ์ และคณะ. (2551). ภูมิปัญญาวิถีชุมชนวิธีธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : เดือนตุลา.
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2549). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.