คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
สำหรับผู้นิพนธ์บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแสงอีสาน ต้องดำเนินการตามองค์ประกอบและรูปแบบที่วารสารกำหนด โดยมีวิธีการดังนี้
1. ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
วารสารวิชาการแสงอีสาน ตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ดังนี้
1.1 บทความพิเศษ บทความทางวิชาการพิเศษ ที่เสนอเนื้อหาความรู้วิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการ/วิชาชีพ
1.2 บทความทางวิชาการ ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต นักศึกษาหรือประชาชนทั่วไป
1.3 บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน
1.4 บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และวารสารใหม่ หรือจากผลงานและประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์วิจารณ์เปรียบเทียบกัน
การส่งบทความ
บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการแสงอีสาน ต้องส่งผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์https://so01.tci-thaijo.org/index.php/jsi/ และรอการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ
การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร
ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร
การเตรียมบทความ
บทความต้องเป็นตัวพิมพ์ดีด โดยใช้ชุดแบบอักษร (font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง และมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double Spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษ (A4) พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษ ด้านซ้าย และด้านขวา ขนาด 3.81 ซม. ด้านบน ขนาด 4.5 ซม. และด้านล่าง ขนาด 4.01 ซม. พร้อมใส่หมายเลขหน้ากำกับทางมุมขวาบนทุกหน้า บทความไม่ควรยาวเกิน 15 หน้ากระดาษพิมพ์ (A4) โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง
การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind Peer Review)และตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2564 ได้เพิ่มจำนวนผู้กลั่นกรองบทความวารสารเป็น 3 ท่าน(ฺDouble-blind Peer Review)
2. ส่วนบทคัดย่อ (Abstract)
บทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 350 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง บทความ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ไม่ต้องอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตาราง และให้มีเพียง 2 ส่วนเท่านั้น คือ
1) วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
2) ผลการวิจัยพบว่า ควรประกอบด้วย ผลที่ได้รับจากการค้นคว้า ศึกษา และผลของค่าสถิติ (ในกรณีมีการวิเคราะห์)
3) คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญไม่เกิน 3 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษาและจะปรากฏอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (Semicolon) (;)
3. ส่วนเนื้อเรื่อง ควรประกอบด้วย
3.1 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิจัย ประกอบด้วย
3.1.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้
3.1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย รวมถึงรวบรวมหลักการ วิธีการ โดยมีรายละเอียดว่าจะต้องศึกษาอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน
3.1.3 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) เป็นการกำหนด วิธีการ กิจกรรม รายละเอียดของการวิจัย การศึกษาประชากร และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
3.1.4 สรุปผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.1.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม
3.1.5 อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์ นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
3.1.6 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
3.1.7 องค์ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge Assets) ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการสังเคราะห์ หลักการ วิธีการ ในลักษณะความเรียง เเผนภาพ แผนภูมิ หรือผังมโนทัศน์ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้น
3.1.8 บรรณานุกรม (ฺBibliography) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) 6th edition เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมา เพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆ ที่ง่ายต่อการศึกษาและการปฏิบัติ
3.2 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิชาการ ประกอบด้วย
3.2.1 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่างๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้ง
3.2.2 เนื้อหา (Content) เรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้อ่านได้รับทราบ เนื้อหาที่ดีต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนและน่าสนใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางความคิดของผู้เขียนเป็นสำคัญ
3.2.3 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนบทความที่ผู้เขียนจะต้องเขียนให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญ เป็นการกลั่นกรอง การรวบรวมหรือการลดข้อความให้เหลือส่วนที่สำคัญเท่านั้น
3.2.4 องค์ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge Assets) ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการสังเคราะห์ หลักการ วิธีการ ในลักษณะความเรียง เเผนภาพ แผนภูมิ หรือผังมโนทัศน์ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้น
3.2.5 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) 6th edition เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆ ที่ง่ายต่อการศึกษาและการปฏิบัติ
3.3 การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทวิจารณ์หนังสือ ประกอบด้วย
3.3.1 ชื่อเรื่องของหนังสือ (Title) ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3.3.2 ชื่อผู้เขียนหนังสือ (Author) ให้ระบุชื่อเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุสถาบันหรือหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด
3.3.3 ชื่อผู้วิจารณ์ (Name of Reviews) ให้ระบุชื่อเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุสถาบันหรือหน่วยงานที่ผู้วิจารณ์สังกัด
3.3.4 เนื้อหาการวิจารณ์ (Reviews Content) ในการเขียนเกี่ยวกับหนังสือวิจารณ์ เนื้อเรื่องจะเป็นส่วนแสดงความคิดเห็นและรายละเอียดในการวิจารณ์ โดยนำเสนอเรื่องราวจุดเด่น จุดบกพร่องของเรื่อง โดยทำการวิจารณ์หรือวิพากษ์อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผลตามหลักวิชาการ
3.3.5 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนสรุปความคิดเห็นทั้งหมดที่วิจารณ์ รวมถึงให้ข้อคิดหรือข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน
3.3.6 องค์ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge Assets) ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการสังเคราะห์ หลักการ วิธีการ ในลักษณะความเรียง เเผนภาพ แผนภูมิ หรือผังมโนทัศน์ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนั้น
3.3.7 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) 6th edition เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆ ที่ง่ายต่อการศึกษาและการปฏิบัติ
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA
1. หนังสือ
1.1 คัมภีร์พระไตรปิฎก
ให้อ้างชื่อย่อคัมภีร์. เล่ม/ข้อ/หน้า. และให้วงเล็บคำว่า (บาลี) ไว้หลังคำย่อในกรณีที่ใช้พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีหรือวงเล็บคำว่า (ไทย) ไว้หลังคำย่อในกรณีที่ใช้พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย
ตัวอย่างเช่น (องฺ.ทุก. (ไทย) 20/395/106)
1.2 หนังสือ
การอ้างอิงในเนื้อหา
หน้าข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ ชื่อ/นามสกุล/(ปีที่พิมพ์,/เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))
หลังข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ (ชื่อ/นามสกุล,/ปีที่พิมพ์,/เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))
ผู้แต่ง 1 คน ให้ระบุชื่อ นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม หากเป็นพระภิกษุทั่วไป ให้ใส่คำว่าพระ, พระมหา นำหน้าชื่อตามด้วยฉายา และพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ให้ใส่ชื่อสมณศักดิ์ตามด้วย
กรณีผู้แต่งมีสมณศักดิ์
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (2557: 15)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2557: 15)
กรณีผู้แต่งมีเป็นกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคล
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น เจษฎา ทองรุ่งโรจน์ (2547)
Yamane (1967)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์, 2547)
(Yamane, 1967)
ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อ นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านามของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร และบุญชนะ ทาโยธี (2559)
Bruce and Blackburn (1992)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร และบุญชนะ ทาโยธี, 2559)
(Bruce and Blackburn, 1992)
ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่ง คนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น ภาสกร ดอกจันทร์, สุรพล พรมกุล และสุบัน โยทุม (2552)
Dokchan, Phromkun and Yothum (2009)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (ภาสกร ดอกจันทร์, สุรพล พรมกุล และสุบัน โยทุม, 2552)
(Dokchan, Phromkun and Yothum, 2009)
ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้แต่งคนแรกตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ (2525: 100)
Prasitratsin et al. (1982: 100)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ, 2525: 100)
(Prasitratsin et al., 1982: 100)
1.3 วารสาร
การอ้างอิงในเนื้อหา
หน้าข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ ชื่อ/นามสกุล/(ปีที่พิมพ์,/เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))
หลังข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ (ชื่อ/นามสกุล,/ปีที่พิมพ์,/เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))
ผู้แต่ง 1 คน ให้ระบุชื่อ นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม หากเป็นพระภิกษุทั่วไป ให้ใส่คำว่าพระ, พระมหา นำหน้าชื่อตามด้วยฉายา และพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ให้ใส่ชื่อสมณศักดิ์ตามด้วย
กรณีผู้แต่งมีสมณศักดิ์
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (2557: 15)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2557: 15)
กรณีผู้แต่งมีเป็นกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคล
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น เจษฎา ทองรุ่งโรจน์ (2547)
Yamane (1967)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์, 2547)
(Yamane, 1967)
ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อ นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านามของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร และบุญชนะ ทาโยธี (2559)
Bruce and Blackburn (1992)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร และบุญชนะ ทาโยธี, 2559)
(Bruce and Blackburn, 1992)
ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่ง คนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น ภาสกร ดอกจันทร์, สุรพล พรมกุล และสุบัน โยทุม (2552)
Dokchan, Phromkun and Yothum (2009)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (ภาสกร ดอกจันทร์, สุรพล พรมกุล และสุบัน โยทุม, 2552)
(Dokchan, Phromkun and Yothum, 2009)
ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ (2525: 100)
Prasitratsin et al. (1982: 100)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ, 2525, หน้า 100)
(Prasitratsin et al., 1982, p. 100)
1.4 วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์
การอ้างอิงในเนื้อหา
หน้าข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ ชื่อ/นามสกุล/(ปีที่พิมพ์,/เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))
หลังข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ (ชื่อ/นามสกุล,/ปีที่พิมพ์,/เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))
ผู้แต่ง 1 คน ให้ระบุชื่อ นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม หากเป็นพระภิกษุทั่วไป ให้ใส่คำว่าพระ, พระมหา นำหน้าชื่อตามด้วยฉายา และพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ให้ใส่ชื่อสมณศักดิ์ตามด้วย
กรณีผู้แต่งมีสมณศักดิ์
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (2557, หน้า 15)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2557, หน้า 15)
กรณีผู้แต่งมีเป็นกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคล
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น เจษฎา ทองรุ่งโรจน์ (2547)
Yamane (1967)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (เจษฎา ทองรุ่งโรจน์, 2547)
(Yamane, 1967)
ผู้แต่ง 2 คน ให้ระบุชื่อ นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านามของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใช้คำว่า “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร และบุญชนะ ทาโยธี (2559)
Bruce and Blackburn (1992)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร และบุญชนะ ทาโยธี, 2559)
(Bruce and Blackburn, 1992)
ผู้แต่ง 3 คน ให้ระบุชื่อนามสกุลของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่ง คนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “and” หรือ “&” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น ภาสกร ดอกจันทร์, สุรพล พรมกุล และสุบัน โยทุม (2552)
Dokchan, Phromkun and Yothum (2009)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (ภาสกร ดอกจันทร์, สุรพล พรมกุล และสุบัน โยทุม, 2552)
(Dokchan, Phromkun and Yothum, 2009)
ผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่นๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ (2525, หน้า 100)
Prasitratsin et al. (1982, p. 100)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ, 2525, หน้า 100)
(Prasitratsin et al., 1982, p. 100)
1.5 รายงานการวิจัย
การอ้างอิงในเนื้อหา
หน้าข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ ชื่อ/นามสกุล/(ปีที่พิมพ์,/เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))
หลังข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ (ชื่อ/นามสกุล,/ปีที่พิมพ์,/เลขหน้าที่อ้างอิง (ถ้ามี))
(ใช้รูปแบบเดียวกับหนังสือ)
1.6 ราชกิจจานุเบกษา
การอ้างอิงในเนื้อหา
หน้าข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ ชื่อพระราชบัญญัติ/(ปีที่พิมพ์)
หลังข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ (ชื่อพระราชบัญญัติ,/ปีที่พิมพ์)
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (2544)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504, 2544)
1.7 สัมภาษณ์
การอ้างอิงในเนื้อหา
หน้าข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ ชื่อ/นามสกุล/(การสัมภาษณ์,/วันที่/เดือน/พ.ศ.)
หลังข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ (ชื่อ/นามสกุล,/การสัมภาษณ์,/วันที่/เดือน/พ.ศ.)
ผู้ให้สัมภาษณ์ ให้ระบุชื่อ นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม หากเป็นพระภิกษุทั่วไป ให้ใส่คำว่าพระ, พระมหา นำหน้าชื่อตามด้วยฉายา และพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ให้ใส่ชื่อสมณศักดิ์ตามด้วยชื่อตัวในเครื่องหมายวงเล็บ
กรณีผู้แต่งมีสมณศักดิ์
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต (การสัมภาษณ์, 15 สิงหาคม 2557)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต, การสัมภาษณ์, 15 สิงหาคม 2557)
1.8 สื่ออิเล็กทรอนิกส์
การอ้างอิงในเนื้อหา
หน้าข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ ชื่อ/นามสกุล/(ปีที่จัดทำ)
หลังข้อความ ตัวอย่างรูปแบบ (ชื่อ/นามสกุล,/ปีที่จัดทำ)
ตัวอย่าง เว็บไซต์
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น กรวรรณ สังขกร (2558)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (กรวรรณ สังขกร, 2558)
ตัวอย่าง วิกิพีเดีย
ตัวอย่าง หน้าข้อความ เช่น Wikipedia (2558)
ตัวอย่าง หลังข้อความ เช่น (Wikipedia, 2558)
การเขียนเอกสารอ้างอิง
1. คัมภีร์พระไตรปิฎก:
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./(ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี) ใส่พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป)./สถานที่พิมพ์:/ สำนักพิมพ์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2. หนังสือ:
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./(ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี) ใส่พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป)./สถานที่พิมพ์:/ สำนักพิมพ์.
เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. (2547). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ปรัชญา. กรุงเทพฯ: โบแดง.
Yamane, T. (1967).Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row.
สิทธิพร เกษจ้อย.(2564).การสังคมสงเคราะห์ตามแนวพุทธศาสตร์.ขอนแก่น: คลังนานาการวิทยาการพิมพ์,หน้า 25-30.
3. วารสาร:
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร และบุญชนะ ทาโยธี. (2559). การบริหารงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์,ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-มีนาคม 2559,หน้า 10-22.
Prescott, S. G. (2015). Will Instructors Save Time Using a Specifications Grading System?. Journal of Microbiology & Biology Education, 16(2), p. 298.
4. วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์:
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์./(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือชื่อมหาวิทยาลัย.
พระมหาบุญพิเชษฐ์ จันทร์เมือง. (2553). การจัดการการท่องเที่ยวในพระอารามหลวงชั้นเอกในเกาะรัตนโกสินทร์. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Phrachanna Bhaddharakhito. (2015). An Analytical Study of Morality in Cambodian Traditional Wedding at Chamnomkuet Village, Chamnom Sub-district, Mongkolborei District, Banteay Meanchey Province Based on Buddhist Principle. Master Degree of Art, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
5. รายงานการวิจัย:
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./(รายงานการวิจัย)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2550). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สิทธิพร เกษจ้อย.( 2562). การสังคมสงเคราะห์ชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์,มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
6. ราชกิจจานุเบกษา:
ชื่อพระราชบัญญัติ./(ปีที่พิมพ์,/วันที่/เดือน)./ราชกิจจานุเบกษา./เล่มที่/ตอนที่/,หน้า.
พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504. (2544, 21 ธันวาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 118 ตอนพิเศษ 127ง, หน้า 13-17.
7. สัมภาษณ์:
การสัมภาษณ์ให้ทำการอ้างอิงในเนื้อหาโดยไม่ต้องลงรายการในเอกสารอ้างอิง
8. สื่ออิเล็กทรอนิกส์:
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./สืบค้นจาก/http:///www.xxxxxxx
(คำว่า เข้าถึงได้จาก ใช้สำหรับเอกสารภาษาไทย Retrieved from สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ)
กรวรรณ สังขกร. (2558). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย. สืบค้นจาก http://www.slideshare.net/amicsangkakorn/ss-48803224, สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2558
Bhandari, P., Rishi, P. and Prabha, V. (2014). Positive Effect of Probiotic Lactobacillus Plantarum in Reversing the LPS Induced Infertility in Mouse Model. Retrieved from http://www.jmm.microbiologyresearch.org/content/journal/j mm/10.1099/jmm.0.000230;jsessionid=1me6a81o04g7o.x-sgm-live-03,Accessed on 22 April 2014.
9. วิกิพีเดีย:
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./วันที่สืบค้น,/จาก/http:///www.xxxxxxx
วิกิพีเดีย. (2561). ข่าวสารจังหวัดขอนแก่น พ.ศ.2560. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki, สืบค้นเมื่อ20 ธันวาคม 2562