การศึกษาการจัดโครงงานคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • เสมอ มะปัญญา

คำสำคัญ:

การศึกษาการจัดโครงงานคณิตศาสตร์, โครงงานคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดโครงงานคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ในด้านการเตรียมการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ การดำเนินการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์  การประเมินผลการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ และปัญหาในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่ปรึกษาโครงงานคณิตศาสตร์ และนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เคยได้รับรางวัลในการส่งโครงงานคณิตศาสตร์เข้าประกวดในระดับกลุ่มพัฒนาการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานอื่น ๆ  จำนวน 16 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 32 คน ครู 48 คน และนักเรียน 48 คน รวม 128 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.67 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.82 แบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่และร้อยละผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ด้านการเตรียมการจัดทำโครงงาน โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเอง มีการประชาสัมพันธ์ให้ครูราบโดยการประชุมชี้แจง มีการส่งครูเข้ารับการอบรมและสัมมนา ครูและโรงเรียนให้การสนับสนุนงบประมาณและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้ มีการให้รางวัลเป็นรางวัลด้วยคำยกย่องชมเชยและคะแนน 
  2. ด้านการดำเนินการ โครงงานคณิตศาสตร์ที่นักเรียนจัดทำอยู่ในประเภทสำรวจมีการเลือกหัวข้อเรื่องตามความสนใจและความถนัดของนักเรียน ครูมีวิธีการกระตุ้นให้นักเรียนหาหัวเรื่องโดยครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกหัวข้อ มีการใช้ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ โดยใช้พื้นฐานทางจำนวนและการดำเนินการ ครูแนะนำโครงงานคณิตศาสตร์ของรุ่นพี่หรือผู้ที่ทำไว้ให้นักเรียนเป็นตัวอย่าง นักเรียนทำโครงงานช่วงเวลาเย็นหลังเลิกเรียนและในชั่วโมงชุมนุมหรือชมรมคณิตศาสตร์ ครูติดตามผลปฏิบัติงานโดยให้นักเรียนรายงานเป็นระยะ นักเรียนนำเสนอผลงานที่สำเร็จแล้วหน้าชั้นเรียน ครู นักเรียน เพื่อน และผู้ปกครองนักเรียนเป็นผู้ประเมินผลโครงงาน
  3. ด้านการประเมินผลการจัดทำโครงงาน มีการประเมินผลการจัดทำโครงงานเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการโดยให้นักเรียนนำเสนอผลงาน และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ปรับปรุงแผนครั้งต่อไป
  4. ปัญหาในการจัดทำโครงงาน ได้แก่ ครูมีชั่วโมงสอนและกิจกรรมอื่นมากจึงไม่มีเวลาเพียงพอที่จะให้คำปรึกษาแนะนำนักเรียน นักเรียนยังขาดการสนับสนุนเพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินงาน นักเรียนไม่ชอบอ่านและศึกษาค้นคว้า นักเรียนไม่เข้าใจขั้นตอนการเขียนรายงานโครงงานและนักเรียนขาดทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล

References

ทิพย์รัตน์ นพฤทธิ์.(2542). ผลของการเขียนบันทึกการเรียนรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความวิตกกังวลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชาการ, กรม.(2552). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ฝ่ายวิชาการ.(2552).เอกสารประกอบการเรียนรู้กลุ่มสารคณิตศาสตร์. โรงเรียนมะค่าพิทยาคม. มหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี.(2546). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์ : ประสารการพิมพ์.

Borasi, R. and Rose, B. J.(1989). Journal Writing and Mathematics Instruction . Educational Studies in Mathematics 20 (1989) : 247 - 365.

Johnson, J. S.(1993). Students’ Beliefs about Learning and Teaching Mathematics when Writing is an Assessment Technique in a College Mathematics Course. Doctoral Dissertation, Georgia State University. Dissertation Abstract Intenational 54 : 2082A.

Mayer, J. and Hillman, S.(1996). Assessing Student’s Thinking through Writing. Mathematics Teacher 89 (May 1996) : 428 - 432.

Norwood, K. S. and Carter, G.(1994). Journal Writing : An Insight into Students’ Understanding Teaching children Mathematics 1. (November 1994) : 146 - 148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30