การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนา คุณลักษณะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการมีความเป็นประชาธิปไตย ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย
คำสำคัญ:
การทำงานร่วมกัน, การมีความเป็นประชาธิปไตย, นักเรียนชั้นปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อเปรียบเทียบการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการมีความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการมีความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนอนุบาลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 36 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานร่วมกันและการมีประชาธิปไตยของนักเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 และ 3) แบบแสดงความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การทำงานร่วมกัน และการมีความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณลักษณะการทำงานร่วมกันและการมีความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การทำงานร่วมกัน และการมีความเป็นประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เครือมาศ แสนตรี.2557. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้
ปัญหาเป็นฐานที่มีผลต่อความพึงพอใจ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
จารุณี ศรีเผือก. (2554). การเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเดกปฐมวัย ที่มีระดับความ
ฉลาดทางอารมณตางกัน หลังการจัดกิจกรรมการเลานิทานประกอบภาพดวยการตอบ คําถามและดวยการแสดงบทบาทสมมติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ุมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ภัทราวดี มากมี. (2555). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น
เอเชีย. ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.
วิชัย มั่นพลศรี (2558) การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมประชาธิปไตย
สำหรับนักเรียน ระดับประถมศึกษา โดยการมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านท่าวัด
“คุรุราษฎร์บำรุงวิทย์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุภาพร พิมพ์ชารี (2557).รายงานผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว ชั้นอนุบาลปีที่ 2 . เอกสารอัดสำเนา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา ใน
ทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ
ปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559): ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
เอื้องพร คำอ้อ (2555 :16) .การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง พลังงาน
ความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.