ประสิทธิผลของกิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้และความคงทนของคำศัพท์ และความสามารถด้านการพูดของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
คำสำคัญ:
กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษ, การพูดภาษาอังกฤษ, ความคงทน, คำศัพท์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสอนภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมเพลง ในการเรียนรู้คำศัพท์และพัฒนาทักษะการพูด และความคงทนของความสามารถ กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบคำศัพท์เป้าหมาย 30 คำ และแบบทดสอบทักษะการพูด ซึ่งใช้ทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และหลังจากการเรียนเสร็จสิ้น 4 สัปดาห์ เพื่อวัดความคงทน เกณฑ์การประเมินและแบบประเมินพฤติกรรมการเรียน ซึ่งใช้บันทึกพฤติกรรมการเรียนด้วยเพลงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมุติฐานด้วย Paired t–test พบว่า
- ความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงของนักศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงของนักศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมโดยใช้เพลง หลังเรียนไปแล้ว 4 สัปดาห์ มีความคงทนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 99.74 และ 97.60 ซึ่งไม่แตกต่างจากคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนนั้นแสดงว่านักศึกษาสามารถคงทนความรู้หลังเรียนได้ทั้งหมด
สรุปได้ว่า การเรียนโดยใช้กิจกรรมเพลงทำให้นักศึกษาสามารถพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ ความคงทนในการจดจำคำศัพท์และความสามารถด้านการพูดได้ดียิ่งขึ้น จึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป
References
ประภัสสร พึ่งอินทร์. (2552). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนทักษะการฟัง การพูดภาษาอังกฤษโดยใช้เพลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชายเขาวิทยา จังหวัดอุตรดิตถ์.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ปิญาณี บูรณะชาต และคณะ. (2552). การใช้กิจกรรมเพลงเพื่อเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทนในการจดจำความหมายของคำศัพท์. การศึกษาอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์.การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2540.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2549). นวัตกรรมการจัดหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รองเนื่อง ศุขสมิติ. (2537). ผลของการใช้เพลงเสริมบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เรนู โกษินานนท์. (2540). ดนตรีศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุสภา.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.(2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
วันวิสา กองเสน. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะ หาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558.
วิจิตร ศรีสอ้าน.(2518). หลักการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.
สมนึก ภัททิยธนี. (2545). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สุภาพร คำพิมาย.(2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ การบวก ลบ คูณ หารระคน และพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TAI. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รูปแบบและภารกิจอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ :วัฒนาพานิช,. Bernard. Harold W. (1970). Psychology of Learning and Teaching. New York : Mc Graw-Hill Inc.
Murphy, T. (1990). The song stuck in my head phenomenon: A melodic din in the LAD?. System, 18(1), 53-64.
Smith, E. (1988). ELT Newsletter. The role of English in Thailand: Transition and Traditions, 4(1), 21-26.
Wiriyachitra, A. (2001). English language teaching and learning in Thailand in this decade. Thai TESOL, 14(1), 4-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.