ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
คำสำคัญ:
การพูดภาษาอังกฤษ, ความวิตกกังวล, ปัจจัยที่ส่งผลต่อ, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน ผู้วิจัยทำการศึกษาและเก็บข้อมูลจากนักศึกษาภาคปกติ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวนทั้งสิ้น 56 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ การทดสอบค่าที T-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน One-Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า1. เพศชายและเพศหญิงมีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ความรู้สึกไม่มั่นใจตนเองเมื่อต้องพูดภาษาอังกฤษและความรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องพูดภาษาอังกฤษต่อหน้าเพื่อนๆ ที่เพศชายวิตกกังวลมากกว่า โดยภาพรวมแล้วความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษระหว่างเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกัน โดยมีค่า (t = 4.00) และ (P-Value = 0.092) 2. ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษโดยจำแนกตามอายุ พบว่า มีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษจำแนกตามอายุแตกต่างกัน โดยมีค่า (F = 6.529) และ (P-Value<= 0.05) 3. ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษโดยจำแนกตามชั้นปี พบว่า มีความวิตก กังวลในการพูดภาษาอังกฤษแตกต่างกัน โดยมีค่า (F = 6.268) และ (P-Value <= 0.05) 4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า นักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีความกังวลสูงสุด ได้แก่ ข้อที่ 12 ท่านกังวลว่าท่านจะพูดผิดไวยากรณ์ ที่ 3.68 รองลงมา คือ ข้อที่ 8 ท่านกลัวการหัวเราะเยาะจากเพื่อนๆในชั้นเรียน เมื่อท่านพูดผิด ที่ 3.64
References
ยุพเยาว์ เมืองหมุดและคณะ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาแรกเข้าระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่องมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สุวรรณภูมิ วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิวิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี.
ศศิภา ไชยวงศ์. (2553). การใช้การสอนชักชวนร่วมกิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเพิ่มพูนการฟังพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและลดความวิตกกังวลของนักเรียนชมรมมัคคุเทศก์น้อย.
ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bloom, B.S.(1976). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw – Hill Book.
Jakobovits, Loen A.(1971). Foreign Language Learning : A Psycholinguistic Analysis of the Issues. Rovley Mass Newbury House Publishers.
Zung, W.K.(1971). A rating instrument for anxiety disorder. Journal of Psychosomatic Research, 12, 371-379.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.