ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

ผู้แต่ง

  • Akkharadet Neelayothin มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน Mahamakut Buddhist University Isan Campus (มมร.อส.)ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000 โทรสาร 0-4324-2386 โทรสาร 0-4324-2386

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, หลักสูตรปริญญาเอก

บทคัดย่อ

การศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา และศึกษาความต้องการหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่คาดหวังว่ามีความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา ทั้งกลุ่มนิสิตนักศึกษา และบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 385 คน ในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจความต้องการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ตอบแบบสำรวจต้องการศึกษาต่อปริญญาเอกร้อยละ 81.6 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีสถานภาพเป็นข้าราชการ มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท มีประสบการณ์การทำงานระหว่าง 6 - 10 ปี ส่วนใหญ่ต้องการศึกษาต่อทันที ร้อยละ 56.9 ต้องการแบบแผนการศึกษาที่มีการทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชาคิดเป็นร้อยละ 67.30 ต้องการรูปแบบการจัดช่วงเวลาการเรียนการสอนภาคพิเศษวันหยุดราชการ (เสาร์-อาทิตย์) ตั้งแต่ 08.30 - 17.30 น. วางแผนการศึกษาเพื่อทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาหลักสูตรคิดเป็นร้อยละ 67.30 ต้องการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนคิดเป็นร้อยละ 53.80 เชิญอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียงต่างประเทศมาร่วมสอนคิดเป็นร้อยละ 48.1ศึกษาดูงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 91.7 สอบคัดเลือกและสอบสัมภาษณ์คิดเป็นร้อยละ 74.8 ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่ายแต่แบ่งจ่ายเป็นภาคการศึกษาคิดเป็นร้อยละ 56.9 ห้องทำงานนิสิตพร้อมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 46.2

2. ผู้ตอบแบบสำรวจเห็นด้วยว่าหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิจัยพุทธศาสตร์และปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีความต้องการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเจ้าหน้าที่สำนักพุทธศาสนา สำนักวัฒนธรรม และบุคลากรทางพุทธศาสนาในระดับมาก และมีความสำคัญอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยเรียงลำดับความสำคัญจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ช่วยพัฒนาสังคม/ประเทศชาติ เป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ช่วยพัฒนางานในองค์กร/หน่วยงาน และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2020-06-17