วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบพหุภาคี

ผู้แต่ง

  • สันต์ทัศน์ สินสมบัติ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช

คำสำคัญ:

การจัดการ, พื้นที่มรดกโลก, พหุภาคี

บทคัดย่อ

การวิจัยพบว่านโยบาย หลักการ และกระบวนการที่จัดการพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแบบพุภาคี คือ โครงการที่ส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรอนุรักษ์ท้องถิ่น โครงการปรับปรุงสภาพอาคารบ้านเรือนในพื้นที่อุทยาน โครงการศึกษาจัดทำผังเมืองเฉพาะ โครงการอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม โครงการสำรวจและโยกย้ายอาคารบ้านเรือนที่มีผลกระทบต่อโบราณสถานหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน โครงการพัฒนาจุดจอดรถ ร้านค้าและบริการ บริเวณศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว โครงการจัดหาพื้นที่สำหรับจัดการขยะตามหลักวิชาการ โครงการฝึกอบรมเพื่อจัดจ้างประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมปฏิบัติงานสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถาน โครงการฝึกอบรมแก่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การบริหารจัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ และโครงการพัฒนาจุดจอดรถ ร้านค้าและบริการ บริเวณศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการจัดการพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแบบพหุภาคี ได้แก่ ปัจจัยด้านผลประโยชน์ส่วนบุคคล ด้านความตระหนัก ด้านความศรัทธา ด้านความเสียสละ ด้านลักษณะของผู้นำภาคี ด้านความเข้มแข็งภายในของภาคี ด้านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคี ด้านนโยบายของภาคี โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย แนวทางการพัฒนาการจัดการพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแบบพหุภาคี จึงควรมีการระบุข้อมูลติดต่อของผู้ประสานงานในแต่ละโครงการให้ชัดเจน ควรวางแผนในการดำเนินการที่สามารถปฏิบัติได้จริง หรือระบุขั้นตอนที่มีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ในสถานการณ์จริง ควรมีการจัดประชุมระหว่างภาคีอย่างต่อเนื่อง และผู้นำภาคีต้องมีความเข้มแข็งสามารถผลักดันภาคีของตนให้ประสานและร่วมมือ เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ให้แก่บุคคลภายนอกได้รับทราบเท่าที่ควร

References

นันทนา แหวนนาค. ๒๕๕๑. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นกรณีศึกษา
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. พิษณุโลก : คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์
และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรัชมาศ ลัญชานนท์. ๒๕๕๔. การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเมือง
ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาชุมชนในเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร :
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทรานิษฐ์ ศุภกิจโกศล และคณะ. ๒๕๕๔. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก
กรณีอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-
ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ภิรดี ลี้ภากรณ์. ๒๕๕๔. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุม
มลพิษ : กรณีศึกษาชุมชนมาบชลูด อ.เมือง จ.ระยอง. กรุงเทพมหานคร : คณะบริหาร
การพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อภิชาติ ใจอารีย์. ๒๕๕๕. การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการป่าชุมชนอย่าง
ยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพมหานคร :
คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31