นโยบายต่างประเทศของจีนกับความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้แต่ง

  • กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์ มหาวิทยาลัยมหามุฏราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์

คำสำคัญ:

จีน, อาเซียน, นโยบายต่างประเทศ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บทคัดย่อ

จีนและอาเซียนเดินหน้าเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่ดีต่อกันมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 25 ปี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวิกฤตความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust Crisis) กลายเป็นปรากฏการณ์แห่งความน่าวิตกกังวลที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองฝ่าย ภาพที่เราเห็นคือกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นประเด็นที่กระทบต่อเสาหลักความมั่นคงของอาเซียนเป็นอย่างมาก แต่ในทางปฏิบัติจีนได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยใช้เครื่องมือทางสันติ (policy of peace) เป็นหลัก
จึงนำมาสู่คำถามหลักว่าจีนในฐานะเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งในทวีปเอเชีย แต่ทำไมในทางปฏิบัติจีนได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยใช้เครื่องมือทางสันติ (policy of peace) กับอาเซียน โดยอธิบายผ่านการศึกษาเรื่องการกำหนดนโยบายต่างประเทศ และสำรวจแนวคิดสัจนิยม สัจนิยมใหม่ และสัจนิยมคลาสสิกใหม่ (Realism, Neo- Realism and Neo Classical Realism) และแนวคิดเสรีนิยม และเสรีนิยมใหม่ (Liberalism and Neo- Liberalism) การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้การทบทวนจากเอกสารทางวิชาการ บทความ ตำรา และงานวิจัยเป็นเครื่องมือในการศึกษา
จากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่จีนดำเนินนโยบายแบบไม่มีการใช้กำลัง (Force) เพราะว่าความต้องการขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของจีน ส่งผลให้จีนต้องการทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งลงทุน เพื่อขยายเศรษฐกิจและ ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งเพื่อความเป็นรัฐชาติและผลประโยชน์แห่งชาติ (Statism and National Interests) และต้องพึ่งพาอาเซียนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวในอนาคต

References

กองความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ กรมอาเซียน. 2560. ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน. 13 (เมษายน). ค้นวันที่ 13 กรกฏาคม 2561 จาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/partnership-20170418-133335-058032.pdf
เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์. 2559. อาเซียน-จีน ทั้งปีนเกลียว ทั้งเกี่ยวก้อย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แสงดาว
ไชยสิทธิ ตันตยกุล. ม.ปป. อนาคตของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอาเซียน.
ธนาสฤษฎิ์ สตะเวทิน. 2560. นโยบายต่างประเทศไทย (Thai Foreign Policy). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
บรรจง ไชยลังกา. 2559. ระเบียบโลกใหม่ของจีน: วิเคราะห์ตามทฤษฎีสัจนิยมใหม่ Chinese new world order: neo-realism theory analysis. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2.
ภูวิน บุณยะเวชชีวิน. 2559. กระแสความคิดสัจนิยม: บทปริทัศน์เบื้องต้น Realist currents of thought: A preliminary review. ใน Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2559.
ศิวพล ชมพูพันธ์. 2559. ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความรู้เบื้องต้น. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
สุรพงษ์ ชัยนาม. 2560. นโยบายต่างประเทศกับความมั่นคงแห่งชาติ. ใน ประชาคมวิจัย RESEARCH COMMUNITY. จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ชิโน พับบลิคชิ่ง แอนด์แพคเกจจิ้ง จำกัด.
สุรชัย ศิริไกร. 2537. นโยบายต่างประเทศของจีนต่อประเทศอาเซียน: ในยุคสังคมนิยมทันสมัยภายใต้อิทธิพล ของ เติ้ง เสี่ยวผิง. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2560. จีนกับการเป็นมหาอำนาจในศตวรรษที่ 21.
กรุงเทพมหานคร: เอกสารทางวิชาการอิเล็กทรอนิกส์
Heywood, Andrew. 2002. Politics. China
Jürgen Rüland. 2006. Southeast Asia: New Research Trends in Political Science and International Relations. In Südostasien aktuell : journal of current Southeast Asian affairs. Vol 25(4). Pp83-107
Ken Booth. 2011. REALISM AND WORLD POLITICS. USA: Routledge
Keohane, R. O. 1986. After Hegemony: Cooperation and Discord in the World Political Economy. New Jersy, Princeton University Press.
Waltz, K. (1979). Theory of International Politics. New York: Random House.
Wendt, Alexander. 2003. Social Theory of International Politics. Cambridge University Press:USA

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31