การศึกษาความงามการเทศน์ในประเพณีบุญผะเหวด ของวัดพุทธประดิษฐ์ ตำบลโพนทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พระธีระพงษ์ ธีรปญฺโญ (ดอนสังเกตุ) มจร.ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความงามตามทัศนะจินิยม, ประเพณีบุญผะเหวด, การเทศน์ผะเหวด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์  คือ 1)  เพื่อศึกษาการเทศน์ในประเพณีบุญผะเหวดของวัดพุทธประดิษฐ์ ตำบลโพนทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม  2) เพื่อศึกษาทฤษฎีความงามตามทัศนะจิตนิยม และ   3) เพื่อศึกษาความงามของการเทศน์ในงานประเพณีบุญผะเหวดตามทัศนะจิตนิยมของวัดพุทธประดิษฐ์  ตำบลโพนทอง  อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ พระนักเทศน์ จำนวน 5 รูป  คณะกรรมการจัดงานจำนวน 10 คน  และผู้ฟังเทศน์ผะเหวด  จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 25 รูป/คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า

การเทศน์ในประเพณีบุญผะเหวด ของวัดพุทธประดิษฐ์  เป็นประเพณี   ที่จัดขึ้นตามฮิตสิบสองของชาวอีสาน  ประเพณีนี้จะจัดทำในเดือนสี่ (มีนาคม) ของทุก ๆ ปี ประเพณีบุญเดือนสี่  จะนำเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าในสมัยที่เกิดเป็นพระเวสสันดรมาเทศน์  จึงได้เรียกประเพณีนี้ว่าประเพณีบุญผะเหวด   ซึ่งเป็นชาติที่เกิดมาทำทานบารมีให้สมบูรณ์ก่อนที่จะมา    เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  

ทฤษฎีความงามตามทัศนะจิตนิยม คือ ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับจิตใจ  นักปรัชญากลุ่ม     จิตนิยมมีความเห็นว่าความงาม  คือ สิ่งที่จากจิตใจและเป็นความงามที่มีอยู่ในจิตใจหรือรับรู้ด้วยใจดังนั้น ความงาม จึงหมายถึง  ความเพลิดเพลิน ความทึ่ง ความทราบซึ่ง ความศรัทธา  การกล่อมเกลากิเลสให้ลดน้อยลง   ความงามของการเทศน์ในงานประเพณีบุญผะเหวดตามทัศนะจิตนิยม ของวัดพุทธประดิษฐ์ คือ ความงามที่เกิดจากการฟังเทศน์ผะเหวด ในประเด็น ดังนี้  1) เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระและปริศนาธรรม  ที่แฝงอยู่ในเรื่องราวของพระเวสสันดร  จนสามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตให้ดีขึ้น  และสามารถกล่อมเกลากิเลสให้ลดน้อยลง  เกิดศรัทธาในการทำบุญ  ทำให้มองเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิต  2) เกิดความเพลิดเพลินไปกับจังหวะท่วงทำนองการเทศน์  3) เกิดความไพรเราะจากการใช้ภาษาที่มีการสัมผัสนอกสัมผัสใน  และมีการเล่นคำได้อย่างเหมาะสม   และกลมกลืนอย่างลงตัว

References

ปรีชา พิณทอง. (2534). ประเพณีโบราณไทยอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2531). มหาชาติสำนวนอีสาน. จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในมหามงคลสมัยรัชมังคลาภิเษก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
พระมหาธวัช เขมธโช (พุทธโส). (2537). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องการเทศน์มหาชาติที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
สีเลา เกษพรหม. (2544). ประเพณีชีวิตคนเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ลพบุรี.
ชูกลิ่น อุนวิจิตร. (2546). รูปแบบและการตอบงานบุญผะเหวด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พระมหาธวัช เขมธโช (พุทธโส). (2537). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องการเทศน์มหาชาติที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31