ผลสำเร็จของการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ใน การบริหารงานของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 และสำนักงาน ศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 (อยุธยา)
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลสำเร็จของการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 และสำนักงานศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 (อยุธยา) 2) เปรียบเทียบระดับผลสำเร็จของการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 และสำนักงานศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 (อยุธยา) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 และสำนักงานศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 (อยุธยา) มีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาผลสำเร็จของการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาคที่ 2 และสำนักงานศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 (อยุธยา) จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และ2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาคที่ 2 และสำนักงานศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 (อยุธยา) จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับผลสำเร็จของการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย คือ ด้านหลักความเสมอภาค รองลงมา ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านนิติธรรม ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านหลักประสิทธิผล ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักประสิทธิภาพ และด้านหลักการตอบสนองตามลำดับ 2) บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย อาชีพ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อผลสำเร็จของการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาการนำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงาน พบว่า 3.1) หลักประสิทธิผล หน่วยงานควรใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 3.2) หลักประสิทธิภาพ หน่วยงานควรใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงาน และระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงาน 3.3) หลักการตอบสนอง หน่วยงานควรสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจแก่ประชาชน ตลอดจนการให้บริการได้อย่างทั่วถึง 3.4) หลักความรับผิดชอบ หน่วยงานควรรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานต่อสาธารณะเพื่อสามารถตรวจสอบได้ 3.5) หลักความโปร่งใส บุคลากรจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนได้รับทราบ 3.6) หลักการมีส่วนร่วม ผู้บริหารต้องรับฟังความคิดเห็นรวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินงาน 3.7) หลักการกระจายอำนาจ หน่วยงานควรมอบหมายอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการตัดสินใจให้แก่ผู้ปฏิบัติในระดับต่าง ๆ 3.8) หลักนิติธรรม หน่วยงานควรบังคับใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม และ 3.9) หลักความเสมอภาค ประชาชนต้องได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน
References
2560, จาก https://www.md.go.th/ethic/DATA/feb6/4-mdhonestplan2560.pdf.
ณพัฐอร ศรีชนะ. (2554). การบริหารตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธีรเดช สนองทวีพร. (2561). การบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. ในการประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ระดับชาติครั้งที่ 8 และนานาชาติ
ครั้งที่ 1 (หน้า 1 - 9). 21 มิถุนายน 2561 ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, กรุงเทพฯ.
ปนัดดา มีทรัพย์. (2557). แนวทางการพัฒนาไปสู่การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รภัสสา หาญณรงค์. (2556). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชัน ทองชมพู. (2555). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลบ้านถ่อน อำเภอท่าบ่อจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.