Factors Affecting the Success of the Implementation of against Transnational Crime Policy : A Case study of Don Muang International Airport
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ, การนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ, ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ 2) เปรียบเทียบความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สำเร็จรูป ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานสำหรับทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้นตอน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติของด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ อยู่ในระดับสูงทั้งในภาพรวมและรายด้าน 2) เจ้าหน้าที่ตำรวจด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ ระดับชั้นยศ และแผนกงาน แตกต่างกัน มีความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านการติดตามประเมินผล ด้านกระบวนการติดต่อสื่อสาร ด้านความชัดเจนของนโยบาย ด้านสมรรถนะของหน่วยงาน และด้านความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ ตามลำดับ มีความสามารถร่วมกันทำนายความสำเร็จในการนำนโยบายป้องกันปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติไปปฏิบัติ ของด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ โดยมีค่าอำนาจการ ทำนายร่วม ร้อยละ 83.5 (F=101.15, p<.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.
ชิตพล กาญจนกิจ. (2559). ความท้าทายของรัฐอาเซียนในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ. บทความวิชาการ วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 46 ฉบับที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บริษัทท่าอากาศยานไทย (มหาชน).(2560). สถิติขนส่งทางอากาศ 2017. สืบค้นจาก https://airportthai.co.th/ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561.
วรเดช จันทรศร. (2543). การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัทสหายบล็อคและการพิมพ์ จำกัด.
-------------------. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สักกรินทร์ นิยมศิลป์. (2558). อาชญากรรมข้ามชาติ: ภัยคุกคามไทยและอาเซียน.บทความวิชาการในหนังสือความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558 การประชุม
วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง.(2560). สถิติการเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร ปี พ.ศ.2560. https://www.immigration.go.th/immigration_stats เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561
อุดมศรี ฉายาลักษณ์. (2546). การป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ โดยมาตรการตรวจคนเข้าเมือง ศึกษากรณี เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานกรุงเทพ. ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต
(การบริหารงานยุติธรรม), คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Berman, P., McLaughlin, M.W., Ingram, H.M., & Mann, D.E. (1978). The study of macro and
micro-implementation.Public Policy. RAND Review, California.
Van Meter, D. S. & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework. Administration and Society, 9 (46).
Yamane, Taro. (1967). Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.