การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง โปรแกรม Microsoft Word 2013 สาระเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย, โปรแกรม Microsoft Word 2013บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง โปรแกรม Microsoft Word 2013 สาระเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย 2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง โปรแกรม Microsoft Word 2013 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 40 คน โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1)บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง โปรแกรม Microsoft Word 2013 2)แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 4)แบบทดสอบระหว่างเรียน 7 ตอน ๆ ละ 10 ข้อ 5)แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา และแบบประเมินคุณภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษา 6)แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสถิติ t-test dependent
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง โปรแกรม Microsoft Word 2013 สาระเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.86/82.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6062 หรือร้อยละ 60.62 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
References
ณัฐกร สงคราม. (2557). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ทศพร สีเขียว. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ เรื่อง การสร้างหนังสือฃ
อิเล็กทรอนิกส์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เปรื่อง กุมุท. (2548). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กราฟิกอาร์ต.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
เริงศักดิ์ แพพิพัฒน์. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การออกแบบเอกสาร
ด้วย Microsoft Word 2007 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา
บัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2556). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย : บริษัท วี. พริ้นท์ จำกัด.
วิรัตน์ รื่นเริง. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง หลักการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชิพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542.
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553. วันที่สืบค้นข้อมูล 2 เมษายน 2559
เข้าถึงข้อมูลได้ที่http://www.onec.go.th/onec_.
อภิสิทธิ์ คิดเห็น. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
อุมาภรณ์ เหล็กดี. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี เรื่อง องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Harald Frater, Dirk Paulissen.(1994). Multimedia Mania: Hauptbd A Data Becker book.
Abacus.
Linda , Tway. (1995). Multimedia in Action. New York : Academic Press. “Electronics
Book” (1990). (online). Available:
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.