การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

ผู้แต่ง

  • พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (ปภสฺสโร) คณะครุศาสตร์ สาขาวิชา พุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา; หลักสังคหวัตถุ4; สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 12) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยt-testและF-testส่วนเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทกรอบวิจัย

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนก เป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักปิยวาจา รองลงมา คือ ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักอัตถจริยา และด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักทาน ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักสมานัตตตา
  2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ จำแนกตามวุฒิการศึกษา และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. แนวทางในการส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีดังนี้ 1) ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักทาน ผู้บริหารควรส่งเสริมบุคลากร โดยจัดให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ อย่างพึงพอใจ 2) ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักปิยวาจา ควรใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ให้กำลังใจ ไม่ใช้คำพูดส่อเสียด หรือคำกล่าวที่เพ้อเจ้อ3) ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักอัตถจริยา ควรบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ ตามโอกาสสมควร 4) ด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักสมานัตตตา ควรมีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานของสถานศึกษาเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579.กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
เครซี่ และมอร์แกน อ้างในบุญชม ศรีสะอาด. (2554).การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์.
ทำเนียบบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1, ณ วันที่ 11 ธันวาคม
พ.ศ.2561, อัดสำเนา.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคล.(2555).การออกแบบการวิจัย.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
พระมหาวิทูรย์ ธมฺมวุฑฺโฒ. “การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอ ยางสีสุราชสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษมหาสารคามเขต ๒”.วิทยานิพนธ์
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
พระสมุห์สัมฤทธิ์ ติสฺสานุตฺตโร (ดิสสา). “การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี”. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2539.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30