การศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • Natthakitta nat Thaiwong คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ, ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย, ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถใน    การแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ และ     2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 4 - 5 ปี ภาคเรียนที่ 2             ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดชีธาราม จำนวน 18 คน และโรงเรียนบ้านหนองจิกรากข่า จำนวน 18 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ได้อำเภอดอนเจดีย์จากนั้นสุ่มมา 1 กลุ่มโรงเรียน ได้โรงเรียนวัดชีธารามเป็นกลุ่มทดลอง จัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ และโรงเรียนบ้านหนองจิกรากข่าเป็นกลุ่มควบคุมจัดประสบการณ์ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี วันศุกร์ จัดในกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ แผนการจัดประสบการณ์ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของ ดร.อารี  รังสินันท์ และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่น .92 ใช้แผนแบบการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มทดสอบก่อน และหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าที

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบหลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบสูงกว่า หลังการจัดประสบการณ์ตามคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การประเมินพัฒนาการของนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษา
ปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
จิราภรณ์ ส่องแสง. (2550). ผลของการใช้กิจกรมศิลปะบูรณาการที่มีต่อความสามารถใน
การแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา
ปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐพร อึ้งภาภรณ์. (2557). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
พรพิไล เลิศวิชา และอัครภูมิ จารุกร. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง.
กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
มนทกานติ์ รอดคล้าย. (2557). การพัฒนาเด็กและครอบครัวในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 10
สิงหาคม 2559, จาก http://taamkru.com.
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2559). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของ
เด็กปฐมวัย. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561, จาก https://wbscport.dusit.ac.th/ artefact/file/download.php?file=178181&view=130722.
ละไม ธานี. (2552). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของ
เด็กอนุบาลชั้นปี ที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วาทินี บรรจง. (2556). ผลการจัดประสบการณ์ศิลปะโดยบูรณาการแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อ
ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา
การศึกษาปฐมวัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สุวีณา เกนทะนะศิล. (2558). อ่านแต่เล็ก เด็กฉลาด สมรรถนะดี. วารสารการศึกษาไทย,
12 (125), 16 - 19.
อารี พันธ์มณี. (2545). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30