ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: Group investigation) เรื่อง ระบบสุริยะ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI), พฤติกรรมการทำงานกลุ่มบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง ระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: Group investigation) โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 ห้องเรียน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบสุริยะ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ (t-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: Group investigation) เรื่อง ระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: Group investigation) เรื่อง ระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: Group investigation) เรื่อง ระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ศาสนากรมศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพครองชาง.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ
ภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพ
การศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 6 ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญ์นรี วรวิทย์ธานนท์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบ
วิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
เมธินี ไชยพิมพ์. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มสืบค้น.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.
สวรส ผลเล็ก. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทีได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 เทคนิค.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ .(2554).รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558-2560. วันที่สืบค้น 10 กันยายน 2561,
เข้าถึงได้จาก http://www.niets.or.th.
สมโภชน์ อเนกสุข. (2554). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.
Tsoi, M.F., Goh, N.,K and Chia, L.S. (2001). Modeling of Group Investigation for effective
e-lrarning in educational technology program. , Enhancement of Quality.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.