คุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21 ตามความคาดหวังขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นัฐพงษ์ สาระเมฆ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะบัณฑิตในศตวรรษที่ 21, บัณฑิตสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, ความคาดหวัง, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21 ตามความคาดหวังขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21 ตามความคาดหวังขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 114 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี

            ผลการวิจัยพบว่า  1) คุณลักษณะบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21 ตามความคาดหวังขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวม และรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ รองลงมา คือ ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และ 2) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอายุ วุฒิการศึกษา ต่างกัน มีระดับความคาดหวังต่อคุณลักษณะบัณฑิต โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เกียรติอนันท์ ล้วนแก้ว. (2559). เดินหน้าพัฒนาการศึกษาไทย สู่การทำงาน. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561, จาก http://www.thaihealth.or.th.
ตันติกร ขุนาพรม. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559, พฤษภาคม - สิงหาคม). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3 (2), 208 - 222.
เบญญาภา คงมาลัย และ ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2558). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์, 43 (1), 37 - 47.
บุษยา วงษ์ชวลิตกุล. (2558). ความคาดหวังความสามารถหลักในการทำงานของนิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษาในทรรศนะของผู้ประกอบการ. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 90 ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี, 21 (2), 90 - 102.
มัลลิกา ทองเอม และคณะ. (2552). ศึกษาความต้องการเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรของหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตในจังหวัดตาก. (รายงานการวิจัย). กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สนทยา เขมวิรัตน์. (2549). ความคาดหวังของผู้บริหารสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร. วารสารวิทยาสารกำแพงแสน, 4 (3), 41 - 46.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). เขตการปกครอง. ค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2561, จาก http://www.ayutthayalocal.go.th/frontpage.
เสกสรร มานวิโรจน์. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ตามความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนนทบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis (3rd. Ed.). New York : Harper and Row.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09