การศึกษาเปรียบเทียบหลักคำสอนเรื่องโยนิโสมนสิการในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอ็ดเวิร์ดเดอโบโน

ผู้แต่ง

  • ภัทรชัย อุทาพันธ์

คำสำคัญ:

โยนิโสมนสิการ, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, พุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบหลักคำสอนเรื่องโยนิโสมนสิการในพุทธศาสนาเถรวาทกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของแอดเวิร์ด เดอโบโน เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)  มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องศึกษาโยนิโสมนสิการในพุทธปรัชญาเถรวาท    2) เพื่อศึกษาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน   3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักคำสอนเรื่องโยนิโสมนสิการในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นหลัก โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ

ผลการวิจัยศึกษาพบว่า

  1. โยนิโสมนสิการในพุทธปรัชญาเถรวาท  คือการทำในใจให้แยบคาย เป็นการคิด คำนึง   นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา  เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ  เป็นการฝึกใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี   คิดอย่างมีระเบียบรู้จักคิดวิเคราะห์ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นผิวเผิน  เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ เป็นอิสระทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้  และนำไปสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรมอย่างถ่องแท้ขอบเขตของโยนิโสมนสิการ  
  2. 2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน คือด้านการแสดงออกพูด เขียน หรือสื่อความหมายความเข้าใจโดยสื่อความหมายชัดเจนกำหนดประเด็นปัญหาที่แน่นอนโดยพิจารณาสถานการณ์รวมทั้งหมดเป็นผู้ที่มีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ  การคิดอย่างมีระบบ
  3. 3. การเปรียบเทียบหลักคำสอนเรื่องโยนิโสมนสิการในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของแอดเวิร์ด เดอโบโน พบว่า ต้องมีความรู้จักคิด คิดถูกวิธี คิดอย่างเป็นระบบ  โยนิโสมนสิการมีลักษณะถือเอาคือเป็นการจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบและใช้ปัญญาตัดให้ขาด ตกลงใจ แก้ไขปัญหาที่ประสบให้เด็ดขาดแน่นอนลงไปก็มีความเหมือนกับแนวคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน  คือ การคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุมีผลก่อนจะลงมือปฏิบัติ

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. ( 2552 ). พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุด 91 เล่ม, เล่มที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,12,17,18,19,24,37.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
คชาภรณ์ คลังชำนาญ. ( 2557 ). ผลการสอนคิดโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบด้วยวิธีการสอนต่างกันที่
มีต่อการคิดวิจารณญาณของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชอบกิจ กนกหงส์. ( 2557 ). การสร้างแบบสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. ( 2545 ). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่
มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศน์วรรณ ประจันตะเสน. (2551). ผลการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นารี เจนสาริกร. (2548 ). ผลการสอนโดยใช้กิจกรรมหมวกคิดหกใบของเดอโบโนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎ
นครสวรรค์.
ยุวดี สมศรี. ( 2551 ). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราเชน มีศรี. ( 2544 ). การพัฒนาทักษะการคิดด้วยเทคนิคหมวกเพื่อการคิด 6 ใบ:
แนวคิดของ เดอ โบโน. อ้างถึงใน พิมพันธ์ เดชะคุปต์.2544. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีการและเทคนิคการสอน 2. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟ แมเนจเม้นท์.
วิริยา วิริยารัมภะ. ( 2549 ). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ และวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมันตา วีรกุล. ( 2557 ). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านวรรณคดีไทยอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้วิธีการสอนตามแนวคิดหมวกหกใบกับวิธีการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมชาย รัตนทองคำ. ( 2545 ). การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สำหรับนักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุทธาทิพย์ จันทิมางกูร.( 2553 ). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและการคิดอย่าง
มี วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษาบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันทา สายวงศ์. ( 2544 ). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยการสอนโดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบและการสอนแบบซินดิเคท. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขา จิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุพัตรา แย้มคลี่. ( 2548 ). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดย
ใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อรุณี รัตนวิจิตร. ( 2543 ). ผลของการฝึกการคิดวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนท่านางแนววิทยา อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31