ความรู้และทัศนคติของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ต่อผู้ที่ติดเชื้อ HIV

ความรู้และทัศนคติของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ต่อผู้ที่ติดเชื้อ HIV

ผู้แต่ง

  • Surakrai Congboonwasana คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นักศึกษา, ความรู้, ทัศนคติ, โรคเอดส์ (HIV)

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ความรู้และทัศนคติของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ต่อผู้ที่ติดเชื้อ HIV มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความรู้และทัศคติของนักศึกษาต่อผู้ที่ติดเชื้อ HIV และ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตัวของนักศึกษาในการระวังการติดเชื้อ HIV การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 149 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและสถิติเชิงพรรณนา คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นคฤหัสถ์ชาย มีสถานภาพโสด มีอายุ 21 ปี เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ ร้อยละ 59.1 เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการปกครอง/รัฐศาสตร์การปกครอง รองลงมา ร้อยละ 32.2 เป็นนักศึกษาสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และเป็นนักศึกษาสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร้อยละ 8.7 ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 59.73 รองลงมาคือ ระดับต่ำ ร้อยละ 30.21 และระดับสูง ร้อยละ 10.06 ด้านทัศนคติต่อผู้ติดเชื้อเอดส์/HIV ส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อผู้ติดเชื้อเอดส์/HIV  ในภาพรวมคือ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.95)  และด้านพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อเอดส์/HIV ของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ ส่วนใหญ่ พบว่า ร้อยละ 51 ใช้ถุงยางอนามัย และไม่เคยใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 49.0 ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ร้อยละ 26.2 ใช้ถุงยางอนามัยบางครั้ง ร้อยละ 24.8 ไม่เคยเปลี่ยนคู่นอน ร้อยละ 75.8  เปลี่ยนคู่นอนบางครั้ง ร้อยละ 12.8 เปลี่ยนคู่นอนบ่อยครั้ง ร้อยละ 11.4 ไม่ระบุเหตุผลของการใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 18.8 เชื่อว่าคู่นอนและตนเองปลอดภัย ร้อยละ 17.4 และความสุขทางเพศลดลง ร้อยละ 16.1 ตามลำดับ

References

หนังสือ
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2526). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราช
วิทยาลัย.
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถานการณ์เอชไอวีและเอดส์ในประเทศไทย พ.ศ.2559.
นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กันยา สุวรรณแสง. (2542). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิทยา.
ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2518). เอกสารประกอบการสอนจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:
วรวุฒิการพิมพ์.
นิภา มนูญปิจุ. (2528). การวิจัยทางสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อักษรบัณฑิต
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ความรู้ ทัศนคติ : การวัด การเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
อนามัย. กรุงเทพมหานคร: พีระพัฒนา.
ปรมะ สตะเวทิน. (2540). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
วิรัช อภิรัตนกุล. (2524). ประเภทของทัศนคติ. ม.ท.ป.
สุโท เจริญสุข. (2520). บทศึกษาจิตวิทยาเพื่อการศึกษาการแนะแนวสุขภาพจิตในโรงเรียน.
กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กรุณา ลิ้มเจริญ. (2557). ผลการให้ข้อมูลแบบสั้นและคำปรึกษาเรื่องการป้องกันเพื่อส่งเสริม
สุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์สถาบันบำราศนราดูร. สถาบันบำราศนราดูร, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข.
คณิสร แก้วแดง และคณะ. (2558). พยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยเอดส์แบบองค์รวม. วารสาร
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. ปีที่ 26, ฉบับที่ 3 (2558), 128-135.
นพคุณ คุณเลิศกิจ. (2552). ความสัมพันธระหวางทัศนคติและความรูเรื่องโรคเอดส์กับ
ความตองการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอดสของนักโทษหญิงในทัณฑสถานหญิงจังหวัดเชียงใหม่. ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิทยาศาสตร์การแพทย์คลีนิก, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บำเพ็ญจิต แสงชาติ และคณะ. (2561). ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และการ
ปฏิบัติสุขภาวะทางเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่หนึ่ง. ศรีนครินทร์เวชสาร.
ปีที่ 33, ฉบับที่ 1 (2561), 49-55.
บังอร เทพเทียน และคณะ. (2551). พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอของ
นักเรียนในรอบ 5 ปี (พ.ศ.2547-2551). วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. ปีที่ 6,
ฉบับที่ 3 (2551), 15-24.
ปัณณวิวิชญ์ ยุทธกิจจำนงค์. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ในครอบครัว ความรู้เรื่องโรค
เอดส์และพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์
ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์,
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิมพิชา สุพพัตกุล. (2551). การเห็นคุณค่าตนเอง ความรู้เรื่องโรคเอดส์ และเหตุผลของ
วัยรุ่นตอนปลายที่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพรรัตน์ วิริยะภัคพงศ์. (2551). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ของเยาวชน :
กรณีศึกษาพื้นที่ดำเนินโครงการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม
เยาวชน จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ
บริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิยดา เกียติยิงอังศุลี และคณะ. (2556). การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ
เอชไอวี. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุชาดา วงศ์สวาสดิ์ พร้อมคณะ. (2550). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักศึกษา
พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราช
ชนนี นครราชสีมา, สถาบันพระบรมราชชนก, สำนักงานปลัดกระทรวง, กระทรวง
สาธารณสุข.

สื่อออนไลน์/เว็บไซต์
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554). สืบค้นเมื่อ 1
ธันวาคม 2560, จาก http://www.royin.go.th/dictionary

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09