กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ในเทศนาธรรมของหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
คำสำคัญ:
เทศนาธรรรม อุปลักษณ์ โวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ปริชาน และอรรถศาสตร์ปริชานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้เพื่อจำแนกประเภทของอุปลักษณ์ในเทศนาธรรมของหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เพื่อศึกษากลวิธีการใช้อุปลักษณ์ในเทศนาธรรมของหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโนพบว่ามีอุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ปริชานและอรรถศาสตร์ปริชาน 135 อุปลักษณ์
ผลการจำแนกประเภทของอุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ ภาษาศาสตร์ปริชาน และอรรถศาสตร์ปริชาน พบว่ามี 3 ประเภท ดังนี้ 1.อุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์มี 24 อุปลักษณ์ 2.อุปลักษณ์ตามแนวคิดภาษาศาสตร์ ปริชานมี 51 อุปลักษณ์ และสามารถจำแนกอุปลักษณ์ตามความหมายประจำรูปภาษาได้ 9 อุปลักษณ์ คือ อุปลักษณ์สงคราม อุปลักษณ์ธุรกิจ อุปลักษณ์อุตสาหกรรม อุปลักษณ์มนุษย์ อุปลักษณ์กีฬา อุปลักษณ์ความสะอาด อุปลักษณ์เรือนจำ อุปลักษณ์การก่อสร้าง อุปลักษณ์การกระทำ 3.อุปลักษณ์ตามแนวคิดอรรถศาสตร์ปริชานมี 60 อุปลักษณ์ และสามารถจำแนกอุปลักษณ์ตามกระบวนการถ่ายโยงทางความหมายจากวงความหมายหนึ่งไปยังวงความหมายหนึ่งได้ 9 อุปลักษณ์ คือ อุปลักษณ์ธรรมชาติ อุปลักษณ์ดนตรี อุปลักษณ์มนุษย์ อุปลักษณ์วัตถุ อุปลักษณ์อาวุธ อุปลักษณ์การเมือง อุปลักษณ์การกระทำ อุปลักษณ์เรือนจำ และอุปลักษณ์นามธรรม
ผลการศึกษากลวิธีการใช้อุปลักษณ์ในเทศนาธรรมของหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์ ภาษาศาตร์ปริชาน และอรรถศาสตร์ปริชาน ดังนี้ 1.กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ตามแนวคิดโวหารภาพพจน์มี 3 แบบ คือ ลักษณะ คุณสมบัติ และหน้าที่ 2.กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ตามแนวคิดภาษาสตร์ปริชานมี 2 แบบ คือ อารมณ์ความรู้สึก และ การกระทำและผลของการกระทำ 3.กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ตามแนวคิดอรรถศาสตร์ปริชานมี 2 แบบ คือ ลักษณะ อาการและการเตือน
References
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทนามีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน. (2552). เข้าสู่แดนอวกาศของจิตของธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัทพรีมาพับบลิชชิง จำกัด.
วารสาร
พระมหาอรรถพงษ์ อตฺถญาโณ (ผิวเหลือง) และเรืองเดช ปันเขือนขัติย์. “กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ในปาฐกถาธรรมสมเด็จพระ
พุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)”, วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม2561) : หน้า 101 – 113.
งานวิจัย
ฌุมพรี เหล่าวิเศษกุล. (2547). กลไกภาษาเทศนาของพระปัญญานันทภิกขุและพระพยอม กัลยาโณ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมพร อาภากโร (เหลาฉลาด), พระมหา. (2548). ศึกษาอุปมาอุปไมยในคำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อมรวิชญ์ ชาครเมธี (บุตรสาร), พระมหา. (2547). ศึกษาเทคนิคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.