ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของนักศึกษามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

ผู้แต่ง

  • กันต์ ศรีหล้า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพล, การคงอยู่ของนักศึกษา, วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุและแรงจูงใจในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยา วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร ที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของนักศึกษา และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จำแนกตาม เพศ, อายุ, คณะที่สังกัด, ชั้น/ปี, เกรดเฉลี่ยสะสม, อาชีพของบิดาและมารดา, รายได้ของบิดาและมารดา, การรับรู้ข่าวสาร, คณะที่ต้องการศึกษาต่อมากที่สุด, และเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในคณะนั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษา จำนวน 415 รูป/คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) สถิติหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของ Scheffé ผลการวิจัย พบว่า

  1. แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยแต่ละด้านเรียงตามลำดับ คือ เหตุผลส่วนตัว ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ภาพลักษณ์ของสถาบัน ปัจจัยทางสังคม และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  2. ผลการทดสอบแต่ละด้าน มีดังต่อไปนี้

2.1 นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.2 นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยระหว่าง 3.00 – 4.00 มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3 นักศึกษาที่บิดามีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาแตกต่างกันกับนักเรียนที่บิดามีอาชีพค้าขาย และอาชีพรับจ้าง ไม่พบความแตกต่างระหว่างอาชีพของมารดากับแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.4 นักศึกษาที่บิดามีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อมากกว่านักเรียนที่บิดามีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 15,000 บาท และนักศึกษาที่มารดามีรายได้ต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อมากกว่านักศึกษาที่มารดามีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ไกรวุธ พนมพงษ์. (2544). แรงจูงใจในการศึกษาต่อสายสามัญหรือสายอาชีพของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสานักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด กับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสานำนักงานสามัญ
จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษา มหาบัณฑิต มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จรูญ แสงสาคร (2533) พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล
วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2533
ชาญวิทย์ กลิ่นเลขา. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนอาชีวศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของ
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์
อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า-
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ดาว สมศรีโหน่ง. (2540). การศึกษามูลเหตุจูงใจนักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรมต่อการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ทวีศักดิ์ เบ้าหล่อเพชร. (2541). องค์ประกอบที่มีผลต่อการเรียนอาชีวศึกษาในโรงเรียนเอกชน
อาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
นรินทร์ สมสมัย. (2542). แรงจูงใจการเข้าเรียนการศึกษานอกโรงเรียนสามัญ วิธีเรียนแบบ
ทางไกลระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เบ็ญจาภา สุธะพินทุ (2536) สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
กระทรวงศึกษาธิการ
เปรมชัย สโรมล, พันโท. (2542). เหตุจูงใจในการศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าของ
นักเรียนเตรียมทหาร. ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สายสมร สร้อยอินต๊ะ และ กัลยา ธรรมพงษา. (2533). ความต้องการและความคาดหวังของ
นักเรียนและผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียน.
วารสารวิจัยเพื่อพัฒนา.
สุมาลี จุลเจิม. (2540). แรงจูงใจในการเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)วิทยาลัยพาณิชยการ สังกัดกรมอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุวพันธ์ พงษ์บริบูรณ์. (2545). แรงจูงใจที่นักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นสูง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ใน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อุไรวรรณ โพธิเวชเทวัญ. (2539). สิ่งจูงใจในการเลือกเรียนหลักสูตรธุรกิจศึกษาของนิสิตระดับ
ปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
เอนก ชิตเกษร. (2542). มูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย-
พายัพ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ : เชียงใหม่.
Best, John W. (1981). Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
https://www.posttoday.com/politic/report/561856 (สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2561)

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09