การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรจำแนกตามเพศ ประเภทของสถานศึกษา และจำนวนบุคลากรของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองจำนวน 110 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นด้านสภาพการดำเนินงานเท่ากับ 0.940 และด้านปัญหาการดำเนินงานเท่ากับ 0.988 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือการหาค่าt-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยตัวชี้วัดที่มีผลการดำเนินงานสูงสุดคือตัวชี้วัดที่4ภาวการณ์เจริญเติบโต รองลงมาได้แก่ตัวชี้วัดที่9การสูบบุหรี่ในโรงเรียนและตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือตัวชี้วัดที่2ได้แก่มีการจัดตั้งชมรมสุขภาพที่มีนักเรียนแกนนำรวมตัวกันดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในส่วนของปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับน้อยโดยเรียงลำดับแบบค่าเฉลี่ยสูงสุดคือตัวชี้วัดที่3มีโครงงานสุขภาพของนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จชัดเจนในการลดปัญหาสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมในชุมชนรองลงมาคือตัวชี้วัดที่1ได้แก่โรงเรียนผ่านการประเมินรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองและตัวชี้วัดที่มีค่าต่ำสุดคือตัวชี้วัดที่11มีโครงการแก้ปัญหาด้านสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมที่มีความชุกสูงหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนได้เป็นผลสำเร็จ 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรจำแนกตามเพศของผู้บริหารสถานศึกษาทั้งสภาพการดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานในภาพรวมไม่แตกต่าง ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรจำแนกตามประเภทของสถานศึกษาในด้านการดำเนินงานพบว่าโรงเรียนประถมศึกษากับโรงเรียนขยายโอกาสมีสภาพการดำเนินงานไม่แตกต่างกันในส่วนของปัญหาพบว่าผู้บริหารที่เป็นโรงเรียนประถมศึกษากับผู้บริหารที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05โดยสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสมีปัญหาการดำเนินการต่ำกว่าสถานศึกษาที่มีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นโรงเรียนประถมศึกษา ผลการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรจำแนกตามจำนวนบุคลากรในสถานศึกษาพบว่าสภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีจำนวนครูตั้งแต่1-10คนกับสถานศึกษาที่มีจำนวนครูตั้งแต่11คนขึ้นไปมีสภาพการดำเนินงานไม่แตกต่างกันในส่วนของปัญหาพบว่าในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05โดยรวมโรงเรียนที่มีสถานศึกษาที่มีจำนวนครูตั้งแต่11คนขึ้นไปมีปัญหาสูงกว่าสถานศึกษาที่มีจำนวนครูตั้งแต่1-10คน
คำสำคัญ: โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ, โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพชร
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.