A การศึกษาเปรียบเทียบจริยศาสตร์ในศาสนาสากล

ผู้แต่ง

  • กำธร เพียเอีย คณะศาสนาและปรัชญา

คำสำคัญ:

จริยศาสตร์ ศาสนาสากล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบจริยศาสตร์ในศาสนาสากล” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการทางจริยศาสตร์ในพระพุทธศาสนา และศาสนาคริสต์ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบให้เห็นถึงหลักทางจริยศาสตร์ เกณฑ์ตัดสินความดี-ความชั่ว ในพระพุทธศาสนา และศาสนาคริสต์ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบในแง่ความคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันทางจริยศาสตร์ของ 2 ศาสนา พระพุทธศาสนา และศาสนาคริสต์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธี วิเคราะห์เป็นแบบพรรณนา

             ผลการวิจัย พบว่า

             1) หลักพุทธจริยศาสตร์นั้นตามหลักการของพระพุทธศาสนามีหลักสัจธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1) ธรรมที่เป็นกฎเกณฑ์ข้อเท็จจริงทางธรรมชาติที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบว่ามีอยู่ในธรรมชาติของสรรพสิ่งคือกฎแห่งความเป็นเหตุและผลที่เรียกว่า “หลักปฏิจจสมุปบาท” ที่สรรพสิ่งล้วนเกิดจากสภาพที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น 2)  สัจธรรมที่เป็นกฎเกณฑ์ข้อเท็จจริงทางสังคมที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาบัญญัติแล้วแนะนำอบรมสั่งสอนอุบาสก อุบาสิกา ประชาชนในโลกนี้ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสุข สงบ ซึ่งหลักบัญญัตินี้เรียกว่า “หลักศีลธรรมหรือหลักจริยธรรม” ส่วนหลักจริยศาสตร์ของศาสนาคริสต์ ได้แก่ บัญญัติ 10 ประการ ประกอบด้วย 1. ห้ามนับถือพระเจ้าอื่น นอกจากพระยโฮวา 2. ห้ามบูชารูปเคารพ 3. ห้ามเอ่ยนามพระผู้เป็นเจ้าโดยขาดความเคารพ 4. ต้องทำงานให้เสร็จภายใน 6 วัน เว้นวันอาทิตย์ (วันหยุด)  5. จงเคารพนับถือบิดามารดาของเจ้า 6. ห้ามฆ่ามนุษย์ 7. อย่าล่วงประเวณี 8. อย่าลักขโมย 9. อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน 10. อย่าโลภเอาของเพื่อนบ้านมาเป็นของตน

             2) เกณฑ์ตัดสินความดี-ความชั่ว ในพระพุทธศาสนา และศาสนาคริสต์ ในทางพุทธศาสนาถือว่าดีชั่วเป็นสิ่งตายตัว เกณฑ์ตัดสินความดีความชั่วใช้กฎแห่งกรรมและหลักจริยธรรมพื้นฐานแห่งความเป็นมนุษย์คือศีล 5 เป็นมาตรฐานในการตัดสินโดยมีความเชื่อพื้นฐานว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ศาสนาคริสต์เชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นต้นกำเนิดและเป็นแม่แบบทางจริยธรรมของมนุษย์ เกณฑ์ตัดสินความดีความชั่วใช้มาตรฐานที่พระเป็นเจ้าได้กำหนดเป็นแนวทางหรือทางแห่งการดำเนินชีวิต พระเป็นเจ้าเป็นผู้ตัดสินการกระทำของมนุษย์โดยมีหลักสำคัญว่า พระเป็นเจ้ามองดูที่น้ำใจมากกว่าผลของการกระทำ ศาสนาคริสต์มีเกณฑ์สำหรับวินิจฉัยความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด ตามหลักเกณฑ์ของศาสนาคริสต์มี 3 อย่างคือ (1) เจตนำที่ตรงกับความดีหรือพระเจ้ามองดูที่น้ำใจของผู้กระทำ (2) พระคัมภีร์เก่า สาระสำคัญเกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมตามนัยแห่งคัมภีร์เก่า ได้แก่ บัญญัติ 10 ประการ ดังนั้น พฤติกรรมใดสอดคล้องหรือไม่ขัดกับบัญญัติ 10 ประการ พฤติกรรมนั้นจัดเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้อง และ (3) พระคัมภีร์ใหม่ สาระสำคัญของพระคัมภีร์ใหม่คือ ความรัก อันได้แก่ความรักพระเจ้า ดังพระวจนะของพระเยซูว่า “จงรักพระเจ้าของท่านอย่างสุดจิตสุดใจ” และความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ดังพระวจนะของพระเยซูว่า “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” พฤติกรรมที่ขัดแย้งกับหลักเกณฑ์นี้ย่อมเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี   

            3) ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบในแง่ความคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันทางจริยศาสตร์ของ 2 ศาสนา ได้แก่ พระพุทธศาสนา และศาสนาคริสต์ พบว่า หลักคำสอนและแนวคิดของศาสดา และนักปราชญ์ทั้งหลายที่กล่าวมาแล้ว ล้วนมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือให้มนุษย์กระทำความดี ละเว้นความชั่ว ให้ปฏิบัติต่อกันอย่างมีคุณธรรม ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสันติสุข การศึกษาคุณธรรมจริยธรรม จะต้องศึกษาถึงที่มา หลักการ แนวคิดทางศาสตร์ของจริยธรรมที่มนุษย์ได้ศึกษา และปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ เพราะแนวคิดหลักการเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความเข้าใจในคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งทุกศาสนามีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป อันเป็นที่มาของความเชื่อ และพฤติกรรมที่แสดงออกของคนในกลุ่มต่างกันด้วย เป็นการช่วยให้มนุษย์ต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน อันเป็นผลให้เกิดความผาสุกในมวลมนุษยชาติ

 

 

References

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมมธรเถร). ศาสนาสากล. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหามกุฏราชวิทยาลัย,
2548.
สุจิตรา อ่อนค้อม. ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงแก้ว, 2545.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเพทฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2554.
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8
พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2554.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09