การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กรณีศึกษาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ประเทศไทย 4.0, ประชารัฐบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งที่จะ 1) พัฒนาตัวชี้วัดการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 2) ศึกษาระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของ อปท. และ 3) สังเคราะห์กระบวนการและกลไกการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางประชารัฐ โดยศึกษาจาก อปท. 4 แห่งในจังหวัดนครปฐม คือ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค องค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง และเทศบาลตำบลคลองโยง ซึ่งเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การรับฟังอย่างรอบด้าน และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวชี้วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่สะท้อนการบริหารจัดการตามพันธกิจ มีทั้งหมด 15 ตัว เป็นตัวชี้วัดแกน 12 ตัว และตัวชี้วัดเฉพาะ 3 ตัว ซึ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 และประชารัฐ 2) ทุกองค์กรมีระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับ “เข้าใจ” เป็น “องค์กรแห่งความสุข” คือ สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ “วิธีคิด” ปัจจัยความสำเร็จ คือ ภาวะการเป็นผู้นำและการบริหารงานอย่างโปร่งใสของผู้บริหาร วิสัยทัศน์ขององค์กร สัมพันธภาพที่ดีและความสุขของบุคลากร 3) กระบวนการและกลไกการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางประชารัฐเพื่อการยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง คือ การจัดให้มี “เวทีความคิด” เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดเห็นต่อการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ และ“เวทีกายภาพ” เพื่อการทำงานร่วมกันในเชิงประเด็นโดยคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน
References
ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2561, จาก http://www.dla.go.th/ upload/ebook/column/2011/12/1163_4495.pdf
ทีมเศรษฐกิจ. (2561, 24 ธันวาคม). เปิดความจริงความเหลื่อมล้ำของคนไทย. ไทยรัฐ. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2562,
จาก https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1452476
สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. (2551). การสังเคราะห์วิธีคิดและแนวทาง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยภูมิปัญญาตะวันออกเพื่อนำไปสู่การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ. รายงานการวิจัย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2561,
จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law1/%c306/%c306-10-2560-a0003.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. ค้นเมื่อ 3 มกราคม, 2561,
จาก http://www.nesdb.go.th/download/plan12/
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.