การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนการสอน วิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติในการเรียนการสอน วิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ สุขสมบูรณ์ มมร.มวก.

บทคัดย่อ

        การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติทางการเรียนวิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 2  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2560  สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย  นักศึกษา  1  ห้อง  จำนวน  31  รูป/คน  ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิด  4  ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ที่มีความยาก  (p) อยู่ระหว่าง  0.513  ถึง  0.771  ค่าอำนาจจำแนก  (r)  ตั้งแต่  0.403  ถึง  0.665  ค่าความเชื่อมั่น  โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา  (Alpha Coefficient)  ตามวิธีของครอนบาค  (Cronbach)  ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบวัดเจตคติ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating Scale)  ตามวิธีของลิเคอร์ท  (Likert)  ซึ่งมี  5  ระดับ จำนวน 25 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่  0.62  ถึง  0.84 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค  (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard  Deviation)  และการทดสอบสมมุติฐานด้วย  Paired t–test   

           ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  1. นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนวิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้ง มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
  2. นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนวิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้งมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01   

           โดยสรุป การจัดกิจกรรมการสอนวิชาพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และการเลือกตั้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 2  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติทางการเรียนสูงขึ้น จึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป

 

References

ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์ปีการศึกษา 2554. รายงานการวิจัย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี, 2546.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. นวัตกรรมการจัดหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย. รายงานการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ. หอพักกับการพัฒนานิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. รายงานการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2543.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น. 2543.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. การเลือกวิธีการสอนระดับอุดมศึกษา. ข่าวสารวิชาการ. คณะเภสัช
ศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.
สมนึก ภัททิยธนี. การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์, 2546 ก.
. เทคนิคการสอนและรูปแบบการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบวิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้น.
มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546 ข.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09