การให้บริการของรัฐตามมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและ การค้ามนุษย์ ในรูปแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) : กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
แรงงานต่างด้าว, การให้บริการของภาครัฐ, ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการให้บริการของรัฐตามมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ในรูปแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้รับบริการตามมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ในรูปแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) จังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยเก็บข้อมูลจากการสืบค้นเอกสาร วิเคราะห์และรายงานของภาครัฐ และการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาที่ทำงานประเภทคนรับใช้ในบ้าน จำนวน 4 คน นายจ้าง จำนวน 4 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ จำนวน 1 คน
ผลการศึกษาพบว่า ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (OSS) เป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันให้บริการในจุดเดียว มีทั้งหมด 5 หน่วยงาน ได้แก่ (1) กรมการปกครอง (2) กรมการจัดหางาน (3) สำนักงานตรวจคนเข้าการเมือง (4) สำนักงานประกันสังคม และ (5) กระทรวงสาธารณสุข ทุกหน่วยงานมีหน้าที่ในการจัดทำ ปรับปรุงทะเบียนประวัติ และพิจารณาออกใบอนุญาตให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งมีการดำเนินการ 6 ขั้นตอน ใช้เวลาเพียง 1 วันทำการ ส่วนผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้รับบริการตามมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ในรูปแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (OSS) จังหวัดขอนแก่น มีข้อคิดเห็นเชิงบวก 5 ประการ ได้แก่ (1) ระยะเวลาดำเนินการกระชับ และรวดเร็ว (2) การให้บริการในจุดเดียวเป็นการอำนวยความสะดวก (3) การได้รับความคุ้มครองและสิทธิตามสัญญาจ้าง (4) การได้รับสิทธิประโยชน์ตามกองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน และประกันสุขภาพ และ (5) การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีข้อคิดเห็นเชิงลบ 3 ประการ ได้แก่ (1) การรอคิวนาน (2) ข้อจำกัดเรื่องอายุของใบอนุญาตทำงาน และ (3) ช่วงเวลาที่สั้นในการเปิดให้บริการ
References
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.