การมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปริญญา ตรีธัญญา คณะสังคมศาสตร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการ, ขยะมูลฝอย, ชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) เพื่อศึกษาสถานการณ์ การจัดการขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลงิ้วราย หาแนวทาง และ มาตรการในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพื่อให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมที่จะลดปริมาณขยะมูลฝอย และสร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลงิ้วราย จำนวน 301 คน

          ผลการวิจัย พบว่า  สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยในตำบลงิ้วรายด้านการจัดการขยะในชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้ลดปริมาณขยะในครัวเรือนโดยการไม่สร้างขยะให้เพิ่มขึ้น มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง แต่ก็ยังพบว่า ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างยังเลือกวิธีทิ้งขยะรวมกันในถุงเดียว และเลือกวิธีการจัดการขยะในครัวเรือนโดยวิธีการส่งต่อให้เทศบาล ประเภทของขยะเป็นขยะประเภทผัก ผลไม้ และเศษอาหาร ด้านความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยกขยะมูลฝอย โดยเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยกขยะมูลฝอยในระดับสูง ด้านเจตคติที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอย ภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยพบว่าเจตคติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยที่ได้ผลดีมากที่สุดควรเริ่มมาจากครัวเรือนก่อนมากที่สุด ด้านพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน ภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยพบว่าพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน พบว่า พฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติทุกครั้ง คือ ทิ้งขยะมูลฝอยในถังขยะทุกครั้ง รองลงมา คือ คัดแยกขยะมูลฝอยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เศษกระดาษขวดพลาสติก เศษเหล็ก ขวดแก้วไปขายหรือนำมาใช้ใหม่ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการจัดการขยะมูลฝอย พบว่าการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนตำบลงิ้วราย ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

          จากผลการวิจัย พบว่า การศึกษาความรู้และเจตคติของประชาชน มีผลไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการจัดการปัญหาขยะมูลฝอย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการรณรงค์ หรือจัดโครงการให้ประชาชนได้ทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยที่มีคุณภาพ และควรส่งเสริมให้ประชาชนมีสวนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร ตั้งแต่การลด การสร้างขยะ การคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง การมีส่วนร่วมในการวางแผน ปฏิบัติการและการติดตามประเมินผล

References

กรมควบคุมมลพิษ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561. แถลงข่าวสถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี2560. http://www.mnre.go.th/th/news/detail/9278
เจริญ ภัสระ. (2540). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดําเนินการของรัฐ. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย.
จรรยา ปานพรม (2554). “การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน : เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2527). การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบทในการบริหารงาน พัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ฉอ้าน วุฑฒิกรรมรักษา. (2526). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของ ประชาชนในโครงการสร้างงานในชนบทศึกษา เฉพาะโครงสร้างที่ได้รับรางวัลดีเด่นของ ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. ปริญญานิพนธ์ สค.ม. ( สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2542). ทฤษฎีองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ทนงศักด์ คุ้มไข่น้ำ, บุญศรี แก้วคำศรี, โกวิทย์ พวงงาม และปรีดี โชติช่วง (2534). การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
ทานตะวัน อินทร์จันทร์. (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อย ในเขต เทศบาลเมืองลำพูน. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธรรมจรรย์ ตุลยธำรง, (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา เทศบาลภายในเขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากร, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นัยนา เดชา(2557). “การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนในตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี” มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). กลวิธีแนวทางวิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงาน พัฒนาชุมชน. ใน ทวีทอง หงส์วิวัฒน์ (บรรณาธิการ), การมีส่วนร่วมของประชาชนใน การพัฒนา. (หน้า 19). กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ณรงค์ วารีชล. (2551). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาเทศบาลสู่เมืองน่าอยู่. กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบางพระ. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ระบุถึงสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อม (หน้าที่ 12)
แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564)
พัทยา สายหู. (2529). กลไกของสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวัลย์ พวงบุบผาและคณะ (2560). โครงการ การพัฒนารูปแบบการขยายผลการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในเขตเทศบาลตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน.
พิศิพร ทัศนา และคณะ (2558) “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลก” รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์ การพัฒนาปัจจุบันของประเทศไทย ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ:ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยอนุเคราะห์ไทย.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี และคณะ (2558). “การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา” วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2558 (หน้าที่ 7-29)
วนิดา วาดีเจริญ. (2560). ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิด ทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ซีเด็ดยูเคชั่น.
วิฑูรย์ ปัญญากุล (2535). การพัฒนาต้องมาจาก ประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
วีรวัฒน เติมสันติกุล. “การมีสวนรวมของสมาชิกชุมชนในการจัดการสิ่งแวดลอม: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชน ในเขตบางซื่อจังหวัดกรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา การจัดการทรัพยากรมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร 2550.
อรพรรณ ภมรสุวรรณ. (2544). การมีส่วนร่วมของสมาชิกนิคมในการจัดการนิคมสร้างตนเอง เพื่อการพึ่งพาตนเอง : ศึกษานิคมสร้างตนเองภาคใต้ตามแผนถอนสภาพนิคม. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Yamane T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row Publication.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-10