การพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการปั้นสร้างสรรค์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: กล้ามเนื้อมัดเล็ก, เด็กปฐมวัย, กิจกรรมการปั้นสร้างสรรค์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการปั้นสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุระหว่าง 3-4 ปี ซึ่งเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาต่อในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเด็กวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้เวลาในการศึกษา คือ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561 ระยะเวลา 4 สัปดาห์ วันจันทร์-วันศุกร์ วันละ 40 นาที เวลา 10.00-10.40 น. ในช่วงเวลากิจกรรมสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t (t-test Dependent Sample) และสรุปข้อสังเกตระหว่างปฏิบัติกิจกรรม โดยการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการปั้นสร้างสรรค์ทั้งภาพรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้นสร้างสรรค์
References
1.ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤษณา รักนุช. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Gesell เพื่อ พัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนระดับปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.
ญาณิศา บุญพิมพ์. (2552). การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมประกอบอาหารประเภทขนมไทย. ปริญญานิพนธ์. กศม. (การศึกษา ปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญธรรม โสภา. (2556). การใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อพัฒนา ความสัมพันธ์กล้ามเนื้อมือกับตาเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้า อิสระ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
วนิดา พลยางนอก. (2555). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความสามารถการใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างการจัดประสบการณ์ศิลปะ สร้างสรรค์กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณี อยู่คง. (2547). ความสามารถของกล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมการปั้น. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ. กรุงเทพฯ.
สายพิณ มะโนรัตน์. (2559). การส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โดย ใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” วันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2560. หน้า 834-840.
สุปราณี งามหลอด. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะการปั้นที่มีต่อทักษะการคิดเชิง เหตุผลของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาทิตยา วงศ์มณี (2553). ผลของการจัดกิจกรรมการปั้นที่มีต่อทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็ก ปฐมวัย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 มีนาคม 2555 - พฤษภาคม 2555. หน้า 94-100.
2.ภาษาอังกฤษ
Gesell, Arnoid. (1940). The First Five Years of Life: A Guide to the Study of the Preschool Child. New York: Harper.
Golomb, Claire. (1973). Children’s representation of the human figure: The effects of models, media, and instruction. Genetic Psychology Monographs. 87 : 197-251.
Mayesky. M. and others. (1998). Creative Activities for Young Children. New York: Delmar.Schirrmacher, R. (1988). Art and creative development for young Childern. New York: Delmar.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.