เกณฑ์การพิจารณาเลือกผู้สมัครในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุจิตตาภรณ์ นะชา วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เกณฑ์การพิจารณาเลือกผู้สมัคร, การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น, จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

บทความนี้เสนอผลจากการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อวิเคราะห์ว่า ประชาชนมีมุมมอง และใช้เกณฑ์ ในการพิจารณาเลือกผู้สมัครเลือกตั้งระดับท้องถิ่นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 2563 อย่างไร การสำรวจครั้งนี้ใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชากรจังหวัดขอนแก่น ที่ถูกเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เป็นจำนวน 384 คน

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามมีมุมมองว่า การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้น ประชาชน 87.7% ต้องการให้มีการจัดเลือกตั้งระดับท้องถิ่นโดยเร็ว เนื่องมาจากเหตุผลหลักที่ว่า การเลือกตั้งเป็นหน้าที่และตนเองต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง (54.9%) และเหตุผลรองลงมา ประชาชนมองว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น (35.3%) โดยเกณฑ์ที่ประชาชนใช้ในการเลือกผู้สมัครเลือกตั้งระดับท้องถิ่นมาจากการพิจารณาพิจารณาผลงานที่ผ่านมาและการช่วยเหลือดูแลของผู้สมัคร (37.8%) และจากวิสัยทัศน์และนโยบายของผู้สมัคร (33.8%) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการซื้อสิทธิขายเสียงอย่างในอดีตที่ผ่านมา โดยประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่างเกือบทั้งหมด (97.9%) ตอบว่า ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ประชาชนตัดสินใจจะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งดังกล่าวอย่างแน่นอน

References

ชัยวัฒน์ สีเหนี่ยง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 1(2), 42-52.
บีบีซี เนวิเกชัน. (2562). ผลเลือกตั้ง 2562 : กกต. แถลงผลเลือกตั้ง 100% คะแนนมหาชนของ พปชร. พุ่งเป็น 8.4 ล้านเสียง. บีบีซี เนวิเกชัน. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2562, จาก https://www.bbc.com/ thai/thailand-47730271
ราชกิจจานุเบกษา. (2558). คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557 เรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2561, จาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order1-2557.pdf
ฤทัยรัตน์ สุพะนามัย. (2557). จิตสำนึกทางการเมืองของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัฒนิกา ศิลปะกุล. (2550). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษากรณี การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วุฒิสาร ต้นไชย และสติธร ธนานิธิโชติ. (2562). ปัจจัยในการเลือกผู้สมัคร/พรรค คุณลักษณะของนายกรัฐมนตรีที่พึงประสงค์ และความมุ่งมั่นในการเลือกตั้ง. สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562, จาก https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/aefC7RLgX/ Document/แถลงข่าว_5_มีค234.pdf
สาโรชน์ เอกระ. (2553). เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นกับนักการเมืองระดับชาติ กรณีศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรพล พรมกุล. (2559). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2557 ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารธรรมทรรศน์, 15(3), 103-118. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/75894/61068
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดขอนแก่น. (2562). สรุปผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562 จังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1-10 (อย่างไม่เป็นทางการ). ค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562, จาก https://www.ect.go.th/khonkaen/ewt_dl_link.php?nid=205 &filename=index
เอกวุฒิ เกตุประยูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององคการบริหารสวนตำบลสระสี่เหลี่ยม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง (พนัสนิคม)). คณะรัฐศาสตรและนิติศาสตร มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://opac.lib.buu.ac.th/opac/

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-12