ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การจัดศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของจังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์ / โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ / จังหวัดหนองบัวลำภูบทคัดย่อ
บทความวิชาการ เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed - Method Research) ได้แก่ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของจังหวัดหนองบัวลำภู 3) เพื่อประเมินยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของจังหวัดหนองบัวลำภู ผู้วิจัยใช้วิธีเลือกพื้นที่วิจัยแบบเจาะจง ได้แก่ โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 9 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และ แบบสังเกต การวิจัยในชั้นนี้มีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสารคู่มือตำราวิชาการที่เกี่ยวกับการสร้างแบบบันทึกวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต 2) สร้างแบบบันทึกวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต 3) นำเสนอแบบบันทึกวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในโรงเรียน สรุปได้ว่า โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ มีความสำคัญ คือ โรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ มีจุดเน้น คือเป็นโรงเรียนที่ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น โดยนำหลักพุทธธรรมหรือองค์ความรู้ที่เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ การนำหลักธรรมมาใช้ในระบบการพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้เกิดกัลยาณมิตรที่ดีตามหลักไตรสิกขา
- ผลการสร้างยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ พบว่า การสร้างยุทธศาสตร์ โดยภาพรวมผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนให้แนวคิดที่ดีในการสร้างและสนับสนุนข้อยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของจังหวัดหนองบัวลำภู อาจจะเป็นเพราะว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์ที่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำได้
- ผลการประเมินยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำ ของจังหวัดหนองบัวลำภู ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับดีมาก และความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
References
พัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ , 2548 หน้า 9 -11.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ, กรุงเทพฯ
: อุษาการพิมพ์ , 2548.
ทิศนา แขมมณี, การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม : จากทฤษฎีสู่ปฎิบัติ. กรุงเทพฯ
: เมธีทิปส์ 2546. หน้า 5
ณัฎฐิกา ลิ้มเฉลิม. การศึกษาสภาพการทำเนินงานตามแนวโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1, สารนิพนธ์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2549 (บทคัดย่อ).
ธรรมนิตย์ บ้านพวน , การศึกษาคุณธรรมของนักเรียนเกะสีชังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ,วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต :มหาวิทยาลัยบูรพา 2559 (บทคัดย่อ).
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต). โรงเรียนวิถีพุทธ ปฏิรูปการศึกษา อย่างบูรณาการ. : กรุงเทพฯ
: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). รู้หลักก่อนแล้วศึกษาแล้วสอนให้ได้ผล.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ออนป้า, 2548.
อุทัย ดุลยเกษม. “คุณภาพประชากรกับการศึกษา” ใน รายงานการสัมมนาเรื่อง
คุณภาพประชากรไทยในทศวรรษหน้า. หน้า 3-136. นครปฐม :
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.