ผลการเล่านิทานชาดกในการปลูกฝังฆราวาสธรรม 4 ให้กับเด็ก ปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
นิทานชาดก, ฆราวาสธรรม 4, ชุมชน, ปฐมวัยบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อปลูกฝังฆราวาสธรรม 4 ให้กับเด็กปฐมวัยในชุมชนด้วยการเล่านิทานชาดก เปรียบเทียบฆราวาสธรรม 4 ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่านิทานชาดก และเพื่อสร้างคู่มือในการส่งเสริมฆราวาสธรรม 4 สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานชาดก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชาย – หญิง ที่มีอายุ 3-5 ขวบที่กำลังศึกษาอยู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) นิทานชาดก จำนวน 4 เรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ ฆราวาสธรรม 4 2) แผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) แบบประเมินผลฆราวาสธรรม 4 สำหรับเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัย พบว่า ผลการปลูกฝังฆราวาสธรรม 4 ให้กับเด็กปฐมวัยในชุมชนโดยการเล่านิทานชาดก 5 วิธี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกรูปแบบ ผลการเปรียบเทียบหลักฆราวาสธรรม 4 ทุกด้าน พบว่า การปลูกฝังฆราวาสธรรม 4 ในเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ยหลักฆราวาสธรรม 4 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมประกอบการเล่านิทานชาดกพบว่าหลักฆราวาสธรรม 4 ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ การเล่านิทานชาดก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ < 0.001 ซึ่งผลที่เกิดจากงานวิจัยในครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ จัดทำคู่มือการเล่านิทานชาดกโดยในคู่มือจะประกอบไปด้วย การนำแผนการการจัดประสบการณ์ไปใช้ เทคนิคการเล่านิทานชาดกทั้ง 4 แบบได้แก่ การเล่าแบบเปิด CD การเล่าประกอบหนังสือ การเล่าประกอบหุ่นมือ การเล่านิทานแบบเล่าไปวาดไป และการเล่านิทานแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม รวมถึงการวัดและประเมินผล เป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการปลูกฝังให้เยาวชนเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
References
คุรุสภาลาดพร้าว.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547).การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ:
เอดิสันเพรสโปรดักส์.
เกริก ยุ้นพันธ์. (2547). การเล่านิทาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาส์น.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิมปภา ร่วมสุขและคณะ. (2558). การสร้างสื่อนิทานเพื่อพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรมด้านความมีน้าใจในเด็กปฐมวัย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิเชียร เกษประทุม. (2550). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). (2558). สสย. เด็กไทยรู้ไม่เท่าทันสื่อออนไลน์. (online).
เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th. (25/08/2559).
Worldfable. (2011).จุดกำเนิดและวิวัฒนาการของนิทาน. (online). เข้าถึงได้จาก.
https://worldfable.wordpress.com/category. (25/08/2559).
C. and Barbour, N. (1994). Early Childhood Education : An Introduction. Netherland :
Sweets and Zealander B.V.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.