การประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) โดยประยุกต์ใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP model)
คำสำคัญ:
การประเมินโครงการ, ระดมทรัพยากร, รูปแบบซิปป์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อรายงานผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) โดยประยุกต์ใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP model) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ปกครอง และนักเรียน ปีการศึกษา 2561 รวมทั้งหมด 238 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจ มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย (IOC) มีค่า 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเพื่อประเมิน เท่ากับ 0.94 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.55-0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). การบริหารงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไปรายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว). กรุงเทพฯ :กระทรวงศึกษาธิการ.
จำเนียร สุขหลาย และคณะ. (2540). แบบจำลอง CIPP ในรวมบทความทางการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลธิชา แพ่งบรรเทา. (2556). การประเมินโครงการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวทิยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์. มหาวิทยาลัย.
บุญตา แซ่เล็ก. (2557). การประเมินโครงการห้องเรียนเทคโนโลยี ตามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับโรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคมโดยใช้รูปแบบการประเมิน 360 องศา. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(1), 154-163.
ปรีชา คัมภีรปกรณ์ และคณะ. (2556). การบริหารทรัพยากรการศึกษา.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพศาล หวังพานิช (2544). การวัดและประเมินผลระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2541). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โรงเรียนบ้านดงเมือง. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR.) โรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) ปีการศึกษา 2560. อุดรธานี: โรงเรียนบ้านดงเมือง.
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2544). รายงานการปฏิรูปการศึกษาต่อประชาชน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). รายงานการประเมิน คุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). 15 รูปแบบการบริหารโรงเรียน ของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบรุ่น 1 ปี 2544. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.
สำราญ มีแจ้ง. (2544). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง.
Alkin, M.C. (1969). Evaluation Theory Development Evaluation Comment. Illinois: F.E.peecock publishers.
Stufflebeam and Daniel, (2003). The CIPP model for Evaluation. International. Handbook of Educational Evaluation, p.31-62.
Weinstein. (2002).Learning and Study Strategies Inventory (LASSI) : SecondEdition. Texas:H&HPublishingCompany,Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.