Analyzing Parikamma Bhavana of Phraraj Nirodharangsi (Thesaka Thesarangsi) Along with Theravada Buddhist Philosophy

ผู้แต่ง

  • Dr.Prasong Promsri -

คำสำคัญ:

การบริกรรม; ภาวนา; พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการบริกรรมภาวนาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาการบริกรรมภาวนาของพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี) และ 3. เพื่อวิเคราะห์การบริกรรมภาวนาของพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี) ตามหลักพุทธปรัชญา  เถรวาท วิธีดำเนินการวิจัยแบบเชิงคุณภาพจากจากเอกสารคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องอย่างเป็นระบบ แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า การบริกรรมภาวนาตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนนิมิตที่ควรนำมาให้จิตบริกรรมคือคำที่เป็นกุศลเพื่อให้ตั้งอยู่ได้ดี มี       ความสงบเกิดขึ้น วิธีการบริกรรมภาวนา ขั้นแรก การเลือกคำบริกรรมให้เหมาะสม ขั้นสอง การปฏิบัติด้วยความตั้งใจแน่วแน่ ขั้นสาม การบริกรรมภาวนาจนเป็นสมาธิ และขั้นสี่ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว นำมาพิจารณาขันธ์ห้าให้เป็นไตรลักษณ์ การบริกรรมภาวนาของพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี) การบริกรรมภาวนาแบบใช้คำบริกรรมว่า พุทโธ ให้ทำความเชื่อมั่นในคำบริกรรมพุทโธ มีสติควบคุมจิตของตนให้อยู่ในพุทโธ ปล่อยวางความสงสัยทั้งหมด และจิตจะรวมเข้ามาอยู่ในคำบริกรรมพุทโธ ส่วนอุปสรรคของการบริกรรมภาวนา ได้แก่ เข้าใจว่าตัวเองวาสนาไม่มี หลงเพลิดเพลิน รีบร้อน ศรัทธาอ่อน มีความกลัว และการข้ามขั้นตอน   การฝึก วิเคราะห์การบริกรรมภาวนาของพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี) ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ผลการปฏิบัติคือเกิดสมาธิเหมือนกัน ในคัมภีร์พระไตรปิฎกใช้คำว่า นิมิต แต่พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี) ใช้คำว่า “คำบริกรรม” ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน การใช้คำบริกรรมบางอย่างถ้าหากไม่ใช่เพื่อความสงบ ถือว่าผิดหลักพุทธปรัชญา

References

เจริญ ช่วงชิต. (2558). การศึกษาสมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต พระนครศรีอยุธยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาไพฑูรย์ กตปุญฺโญ (สิงหะ). (2561). ศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาโดยอาศัยการกำหนดรู้จิตเป็นอารมณ์. ปริญญานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระรัชเวธน์ เตชวณฺโณ (รุ่งเรือง). (2559). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต พระนครศรีอยุธยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอาจารย์ทูล ขิปปปญฺโญ. (2546). พุทโธ. อุดรธานี : ยิ่งสุข.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). อภิธัมมปิฎก วิภังค์ เล่ม 36. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27