วิเคราะห์ภพภูมิของพระภูมิเจ้าที่ในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • Dr.Prasong Promsri -

คำสำคัญ:

ภพภูมิ; พระภูมิเจ้าที่; กามภพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาภพภูมิในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาพระภูมิเจ้าที่ในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3. วิเคราะห์ภพภูมิของพระภูมิเจ้าที่ในพุทธปรัชญาเถรวาท วิธีดำเนินการวิจัยแบบเชิงคุณภาพจากคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ ข้อมูลให้สอดคล้องอย่างเป็นระบบ แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า ภพภูมิในพุทธปรัชญาเถรวาท ประกอบด้วย 1. กามภพ มีอบายภูมิ มนุสสภูมิ เทวภูมิ 2. รูปภพ มีพรหมโลก 16 ชั้น และ 3. อรูปภพ 4 ชั้น แบ่งเป็นฝ่ายกุศลกรรมและฝ่ายอกุศลกรรม อบายภูมิมีความทุกทรมานที่สุด มีชีวิตหลังความตายและมี     การเวียนว่ายตายเกิด จัดเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นความเชื่อสำคัญทำให้คนทำดี เว้นความชั่ว สิ่งที่ทำให้เกิดคือตัณหาและกรรม ความตายจึงเป็นช่องทางผ่านของสัตว์ทั้งหลายที่ไปมาระหว่างโลกนี้กับโลกอื่น พระภูมิเจ้าที่ในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา        การระลึกถึงพระภูมิเจ้าที่ด้วยหลักอนุสสติข้อ 6 เรียกว่า เทวตานุสสติ เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต รวมถึงการทำเทวตาพลีด้วย เทวดานั้นเมื่อผู้ครองเรือนบูชาแล้วก็ย่อมบูชาตอบ เมื่อเขานับถือแล้วก็นับถือตอบ คอยอนุเคราะห์ผู้ครองเรือนเหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตร วิเคราะห์ภพภูมิของพระภูมิเจ้าที่ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ภพภูมิเป็นสถานที่เกิดและที่อยู่ แบบเป็นเชิงนามธรรมระดับจิตและเชิงรูปธรรมด้วย ส่วนพระภูมิเจ้าที่เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ได้แก่ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค ยักษ์ เพราะการทำบุญด้วยหวังอามิส มีความเชื่อผิดเรื่องทำบุญ และทำบุญเพียงเล็กน้อย การเกิดจึงมีลักษณะที่ต่างกันไป ความเชื่อนี้ทำให้เกิดประเพณี ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม เช่น ตามโบสถ์ ศาลาการเปรียญ พระราชวัง เป็นต้น

References

พระจักรกฤษณ์ ธีรธมฺโม. (2558). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องเทวดาในคัมภีร์จักกวาฬทีปนี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาคำปุ่น ธมฺมทินฺโน. (2561). การศึกษาความเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์ของชาวตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเศรษฐา เสฏฺฐมโน. (2553). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาในไตรภูมิพระร่วง. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2546). ปรมัตถโชติกะมหาอภิธัมมัตถสังคหฏีกา วิถีมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและ ปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ 9 เล่ม 1 สมถกรรมฐานทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สนองการพิมพ์.

พฤฒาจารย์ วิพุธโยคะ. (2547). หลักการปลูกบ้านและการตั้งศาลต่าง ๆ. กรุงเทพฯ : ลานอโศก เพรส กรุ๊ป.

พินิจ สุขสถิต. (2537). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องเทวดาชั้นฉกามาพจรในพระไตรปิฎก. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 10. กรุงเทพฯ : มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27