ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Parichat Wongla -

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 179 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ

ผลการวิจัยพบว่า

ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.43) โดยเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ 1) ด้านเสริมสร้างบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ (=4.46)2) ด้านส่งเสริมพัฒนาความรู้ของบุคลากร (=4.45)3) ด้านมีวิสัยทัศน์และตระหนักในพันธกิจ (=4.43) 4) ด้านกระตือรือร้นในการพัฒนาหลักสูตร (=4.40)   5) ด้านใส่ใจนิเทศและติดตามการจัดการเรียนรู้   (=4.40)

2.การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารที่มีเพศ และประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน มีภาวะผู้นำทางวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

References

กันยารัตน์ ศรีเนตร. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จนิสตา ประทัง (2558) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ครุสาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ไชยา ภาวะบุตร. (2555). ภาวะผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

น้ำฝน รักษากลาง. (2553). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 2 ด้านผู้เรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยม เขต 1 และ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, สำนักบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2542). ประสบการณ์ในการบริหารประชากร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545) กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

รุ่ง แก้วแดง. (2545). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษา ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุขฤทัย จันทร์ทรงกรด (2558) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2539) การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อุทัย บุญประเสริฐ (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : เอส ดี เพรส.

อมรรัตน์ ใจหาญ. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21