การจัดการเรียนรายวิชาพื้นฐานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, รายวิชาพื้นฐาน, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีบทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรายวิชาพื้นฐานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนบาลีเชิงบูรณการกับรายวิชาพื้นฐานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงกลุ่มผู้ให้ 26 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยวิธีแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี มีอยู่ 5 ขั้นตอน คือ (1) การประชาสัมพันธ์ (2) การบรรพชาเด็ก (3) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ (4) การปฐมนิเทศ และ (5) การเตรียมตัวก่อนสอบไล่บาลีสนามหลวง
2) การพัฒนาการจัดการเรียนรายวิชาพื้นฐานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีปัจจัยสำคัญ 5 อย่าง ได้แก่ (1) สภาพสถานศึกษา (2) การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนบาลี (3) การใช้ IT เข้ามาช่วยเพิ่มทักษะการเรียน (4) การเชื่อมโยงความรู้ผ่านระบบออนไลน์ และ (5) การวัดและประเมินผลด้านเนื้อหาที่ทำให้นักเรียนรู้รอบทั้งทางโลกและทางธรรม
3) รูปแบบการจัดการเรียนบาลีเชิงบูรณการกับรายวิชาพื้นฐานของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร จำแนกออกได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ (1) รูปแบบการเรียนระบบปกติ คือ หลักสูตรปกติและหลักสูตรบล็อกคอร์ส (2) รูปแบบการเรียนแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และ (3) รูปแบบการเรียนแบบเทียบประสบการณ์ องค์ความรู้จากการวิจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านการพัฒนาหลักสูตร และปัจจัยทางด้านรูปแบบการเรียน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมที่เหมาะสมกับสังคมยุคใหม่
References
กรมการศาสนา. (2541). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรุงเทพ ฯ : กรมการศาสนา, หน้า 2
ประเวช เวชชะ. (2561). การจัดการเรียนรู้กลุ่มวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาทักษะในศตรวรรษที่ 21 ของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. เชียงราย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, หน้า 319
ปุณณิฐฐา มาเชค. (2562). การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในยุค 4.0 ศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม, หน้า 41 – 52.
พรพล พอนอ่วม วราภรณ์ ไทยมา และชารี มณีศรี. (2562). การจัดการศึกษาโดยครอบครัวโดยใช้ทรัพยากรการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม, หน้า 311 - 320.
พระเทพเวที. (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 261.
พระธรรมปัญญาภรณ์. (2549). ประวัติความเป็นมาของสำนักเรียนวัดปากน้ำ พุทธศักราช 2549. กรุงเทพฯ : หจก. สตาร์กรุ๊ป, หน้า 251.
พระมหากันตินันท์ เฮงสกุล. (2564). การบริหารการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม, หน้า 719 - 728.
พระมหาสมาน ธมฺมวชิโร. (2561). แนวทางการพัฒนาสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี: กรณีศึกษาสำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. วิทยานิพพนธ์ปริญญา พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุธรรม สุรตโน (แก้วเคน). (2560). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสู่ความเป็นเลิศ. วารสารอนัมนิกาย, ปีที่ 1 ฉบับที่1 ประจำเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม, หน้า 35 - 47.
พระมหาสุพิชฐพล ชิตวิริโย (เชื้อกุล) พระฮอนด้า วาทสทฺโท และพระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส. (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม, หน้า 1031 - 1046.
พระราชวรมุนี. (2540). การศึกษาของคณะสงฆ์ ปัญหาที่รอทางออก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, หน้า 57.
พระวิสิทธิ์ ฐิตวสิทฺโธ และคณะ. (2561). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาที่ตอบสนองต่อชุมชนและสืบทอดบุคลากรทางพุทธศาสนา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม, หน้า 14 - 25.
นางวรวรรณี วัฒนศิริ.(2566, 26 มกราคม). สัมภาณ์โดย พระอุดมปริยัติ[การบันทึกเสียง]. ผู้อำนวยการโรงเรียนโกสัมพีวิทยา อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). เล่ม 139 ตอนพิเศษ 91 ง, 20 เมษายน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการแสงอีสาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.