การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • นายกิตติยานนท์ วรรณวงศ์ -

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3. เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 4. เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษา จำนวน 25 รูป/คน ผู้เชี่ยวชาญพัฒนารูปแบบ จำนวน 9 รูป/คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา จำนวน 46 รูป/คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบ จำนวน 12 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ คู่มือรูปแบบ แผนบริหารการสอน แบบประเมินคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเอง แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบ และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

 ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

1) การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเสนอสถานการณ์แรงจูงใจ ขั้นกำหนดเป้าหมายดำเนินการ ขั้นเสริมสร้างด้วยการปฏิบัติ ขั้นเสนอความคิดสะท้อนกลับ และขั้นตระหนักรับผิดชอบต่อตนเอง และสรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่ สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ คุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเอง สาระการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้

2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู     มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล และการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญของรูปแบบ ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D.= 0.35)

3) ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 1) การเรียนรู้รายวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) การประเมินคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D.= 0.23) 3) การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D.= 0.24)

4) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65,          S.D.= 0.31)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2541). ธรรมรัฐภาคเมือง: บทบาทภาคีเมือง. สารวุฒิสภา, หน้า 192.

เกียรติศักดิ์พันธ์ลําเจียก. (2541). ผลของการนําเสนอวินโดว์ร่วมการจัดโครงสร้างเนื้อหาที่ต่างกันในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบไฮเปอร์มีเดียที่มีการใช้ความรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 1.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2552). การเรียนรู้ด้วยการนําตนเองบนเครือข่าย. วารสารศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, หน้า 6.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2539). เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่ 7, สำนักนายกรัฐมนตรี, หน้า 8.

จรูญ สุภาพ. (2520). แบบเรียนสังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิชย์, หน้า 84.

เฉลิม ฟักอ่อน.(2550). การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน. เทคนิค Backward Design. กรุงเทพมหานคร : ประสานมิตร, หน้า 101.

ประดินันท์ อุปรมัย, การพัฒนาความรับผิดชอบของเด็กการพัฒนาพฤติกรรมเด็ก, กรุงเทพมหานคร : วิคเตอร์การพิมพ์, หน้า 501.

มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริและ คณะ.(2535). รายงานการวิจัยเรื่องความนิยมในการเข้าศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า 18.

วรนารถ โมลีเอรี, (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดคุณลักษณะศึกษาของลิคโค นา เพื่อเสริมสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพด้านความรับผิดชอบของนักศึกษาสายอาชีพและเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, หน้า ก.

วรัญญู รีรมย์. (2551). การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนวิชาทางด้านสุขภาพพลามัยในระดับอุดมศึกษา. บทความวิชาการ วารสารวิทยาจารย์, ปีที่ 107 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนตุลาคม. หน้า 84-91

สุทธิพร บุญส่ง. (2552).รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, หน้า 5.

Dick, W., & Carey, K.E., (1978). Self-directed learning: critical practice. New York: Nichols/GP Publishing, p. 45.

Zimmerman. B.J.(1998). A social cognitive view of self-regulation academic learning. In Journal of Educational Psychology. p. 329-339.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21