รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน

ผู้แต่ง

  • Khwanjai Kaewsaeng -

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, งานวิชาการ , ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน กลุ่มเป้าหมายเป็น เจ้าหน้าที่ อาจารย์ และผู้บริหาร จำนวน 78 รูป/คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณ

           ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( 𝑥̅= 3.89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการวัดผล และประเมินผลทางการศึกษา (𝑥̅= 3.98) ด้านหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร (𝑥̅= 3.91) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (𝑥̅= 3.90) และด้านสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้(𝑥̅= 3.78)  2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 2.1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย พันธกิจ วัตถุประสงค์ และ วิถีแห่งการพัฒนา 2.2) กระบวนการ ซึ่งมีกลไกขับเคลื่อนประกอบด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA และการทำงานเป็นทีม และ 2.3) ผลผลิต มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ คุณภาพบัณฑิต และ ความพึงพอใจในระบบการบริหารงานวิชาการ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.25)  และรายด้านโดยด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือด้านความถูกต้อง(𝑥̅= 4.40) รองลงมาคือด้านความเหมาะสม และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านความเป็นไปได้ (𝑥̅= 4.28)

References

ณรงค์กร ชัยวงศ์, กระพัน ศรีงาน และโกวิท วัชรินทรางกูร. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน มจร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม, หน้า 1383-1395.

นริศ แก้วสีนวล. (2557). การบริหารวิชาการในสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน 2557, หน้า 130-147.

ประทีป เมธาคุณวุฒิ. (2545). หลักสูตรอุดมศึกษา : การประเมินและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และคณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของผู้บริหาร สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2557, หน้า 51-63.

พระมหาธีรเพชร ธีรเวที. (2561). การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการเทคโนโลยีอีสเทิร์น, ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 84-96.

พระมหาพงษ์ธวัช รตฺนวชิโร. (2556). การบริหารด้านวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 5 อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2548). หลักและพื้นฐานการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. (2564). รายงานการประเมินตนเอง วิทยาเขตอีสาน ปีการศึกษา 2564. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,วิทยาเขตอีสาน.

รัตชนก พราหมณ์ศิริ, และคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2559, หน้า 106-116.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รูปแบบและภารกิจอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ :วัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-15