การศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

ผู้แต่ง

  • วีราภรณ์ สุยา -

คำสำคัญ:

ทักษะการใช้เทคโนโลยี, เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ T-test การทดสอบ F-test หรือ One Way ANOVA เมื่อพบความแตกต่างกัน จึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธี LS.D (Least Significant Difference)

ผลการวิจัยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน (𝑥̅= 4.23) รองลงมา คือ  ด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร (𝑥̅= 4.18) ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี (𝑥̅= 4.10) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ (𝑥̅= 4.10)  เมื่อเปรียบเทียบจำแนกตามอายุ โดยรวมพบว่าแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านแตกต่างกัน  และจำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน  ด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร และด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานพบว่า โดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และด้านการใช้เทคโนโลยีใน การบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จิรมิตร พวกเมืองพล. (2565). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัญญาภัค ใยดี. (2560). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2561, หน้า 150-163.

ณัฐกฤต กันทาใจ. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร, ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2562, หน้า 285-294.

ธัญณิชา สุขวงค์ (2563). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 34 ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน 2563, หน้า 32-42.

นิศาชล บำรุงภักดี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร สถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,คณะศิลปะศาสตร์, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกริก.

วรรณนภา จำเนียรพืช. (2564). ภาวผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุทธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สาคร มหาหิงคุ์. (2565). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารวิชาการและนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-มิถุนายน, หน้า 189-203.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2565) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 (2566). แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2561). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ.2561-2565.กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), p.607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19