รูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารงานกิจการนักเรียน, การส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน และรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Research Methodology) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 208 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียนมี 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 ขอบข่ายการบริหารกิจการนักเรียน องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนทั้ง 3 ด้านคือ ด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม องค์ประกอบที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ และสภาพปัจจุบันการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) รูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนประกอบด้วย 1) หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 2) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 3) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน 4) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 5) การส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนด้านคารวธรรม ด้านสามัคคีธรรม และด้านปัญญาธรรม
3) ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.64)
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวรีิยาสาส์น.
ปิยพจน์ ตุลาชน. (2551). ประชาธิปไตยในโรงเรียน : แนวทางแก้ปัญหาสังคม. กรุงเทพ ฯ: บุ๊ค พอยท์.
วันชัย หวังสวาสดิ์. (2558). รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมชัย จรรยาไพบูลย์. (2555). รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). แบบตรวจสอบรายการประเมิน : วิธีวิทยาและเครื่องมือ ประเมิน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญญา โสภา. (2546). การพัฒนาบุคลากรด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนบ้านโป่งเป้า. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียน พ.ศ. 2560 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2540). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ :บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คูณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564, หน้า 178-195.
Bardo, J.W. & Hartman, J.J. (1982). Urban Society: A Systemic Introduction. New York:Peacock.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.