รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การพัฒนาครู , การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 302 คน โดยเปรียบเทียบกับตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครู ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยแบ่งออกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( 𝑥̅= 3.43) โดยเรียงตามลำดับ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ด้านการออกแบบการเรียนรู้ สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.62) โดยเรียงตามลำดับ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ความต้องการจําเป็นของการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ลําดับความสําคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการออกแบบการเรียนรู้ (PNImodified = 0.379) ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ(PNImodified = 0.345) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (PNImodified = 0.338) และ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง(PNImodified = 0.328) ตามลำดับ
2) รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบไปด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง และ 4) แนวทางการประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.82)
3) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย( 𝑥̅= 4.82) ความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ย(𝑥̅ = 4.79) ความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅= 4.88)
References
กลัญญู เพชราภรณ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. พระนครศรีอยุธยา. โรงพิมพ์เทียนวัฒนา พริ้นติ้ง.
ขวัญฤทัย ดวงทิพย์. (2565). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการชั้นเรียนยุคใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
จุราภรณ์ ปฐมวงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูด สนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนมิถุนายน 2565, หน้า 143-159
ฉวีวรรณ อินชูกุล. (2565). การบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาในสถานการณ์ปกติใหม่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม .(2561). แนวทางในการผสมผสานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษา. วารสารภาษาปริทัศน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 18 ฉบับที่ 33 ประจำเดือนมิถุนายน 2561, หน้า 241-266.
ชานนท์ คำปิวทา. (2565). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปุญญิสา เปงยาวงษ์. (2565). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. การค้นคว้าอิสระ, หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พวงทอง ศรีวิลัย. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการการเสริมสร้างสมรรถนะเชิงบูรณาการสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ, สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.
พัชราภรณ์ ลีเบาะ และคณะ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564, หน้า 164-177.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. (2565). SAR สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2. เอกสารงานวิชาการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2.
อภิชาติ รอดนิยม. (2564). เทคโนโลยีการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนกันยายน 2564, หน้า 123-133.
อานุภาพ เลขะกุล. (2564). ความปกติถัดไปอุดมศึกษา: ความท้าทาย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2563, หน้า 111-125.
Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Function in Education Evaluation. Journal of Aesthetic Education. 10(3/4), p. 135-150.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.