ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

ผู้แต่ง

  • weerapol sundod -

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน จำนวน 285 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมา จำนวน 281 คน คิดเป็นร้อยละ 98 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( 𝑥̅= 4.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารเชิงดิจิทัล (𝑥̅ = 4.24) ด้านการสร้างวัฒนธรรมเชิงดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.24) ด้านวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล ( 𝑥̅= 4.22) และด้านความรู้การใช้งานเชิงดิจิทัล ( 𝑥̅=4.21) ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กวินท์ บินสะอาด. (2565). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จุฑามาศ กมล และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนใน สังกัดสหวิทยาเขตปิยมิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนสิงหาคม 2565, หน้า 387 - 403.

จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2564). บทบาทของผู้บริหารการศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นจากhttps://shorturl.asia/Xy1GY. ศูนย์พัฒนาและประยุกต์วิชาการ, สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566.

ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ทศพล สุวรรณราช. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน-ธันวาคม 2564, หน้า 160-177.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS. กรุงเทพฯ: บริษัทวี อินเตอร์พริ้นท์.

นภสัรัญช์ สุขเสนา. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตรมหาบัณฑติ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,สาขาการบริหารการศึกษาคณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

ลัทธวรรณ วงษ์โพย. (2566). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิรากร เจริญเชื้อ. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 กันยายน 2560. สืบค้นจากhttps://shorturl.asia/bOTrs, สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2566.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขึ้นพื้นฐานพ.ศ.2566-2570. สืบค้นจาก https://www.nma6.go.th/web/strategic, สืบค้น เมื่อ 4 กันยายน 2566.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2561-2580. สืบค้นจากhttps://shorturl.asia/xE35g, สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2566.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 35 ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2564, หน้า37-45.

Lin Zhong. (2017). Indicators of Digital Leadership in the Context of K-12 Education. Journal of Educational Technology Development and Exchange (JETDE). Retrieved from https://shorturl.asia/fWOAF, Accessed on 2 October 2023.

Raamani Thannimalai and Arumugam Raman. (2018). "Principals' Technology Leadership and Teachers' Technology Integration in the 21st Century Classroom, International Journal of Civil Engineering and Technology. Retrieved from https://shorturl.asia/4cVvk, Accessed on 1st October 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-15