การบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในอนาคตของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การบริหารกิจการคณะสงฆ์, ธรรมยุติกนิกาย, จังหวัดอุดรธานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้า 2) เพื่อศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในอนาคตของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 รูป โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ระบบการบริหารคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้ายึดพระธรรมวินัยเป็นหลัก คือระบบวินัยและระบบธรรม ด้านการปกครองใช้หลักการกระจายอำนาจสำหรับการปกครอง ด้านการศึกษา ต้องศึกษาและปฏิบัติอยู่กับอาจารย์อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี ด้านการสงเคราะห์ ใช้หลักการบำเพ็ญประโยชน์ต่อตนเองและสาธารณชนด้วยหลักธรรมและวัตถุ การเผยแผ่ใช้หลักการเข้าถึงบุคคล สังคมและชุมชน และด้านสาธารณูปการ การสร้างวัดที่เรียบง่ายเหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติ การบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ใช้พระธรรมวินัยและมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ประกาศ มติของมหาเถรสมาคมเป็นหลักสนับสนุน เกิดการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน และการบริหารกิจการคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในอนาคตของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ควรปฏิรูปโครงสร้างการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ได้แก่ ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและการสร้างกฎระเบียบให้ง่ายขึ้น กำหนดให้มีการฝึกอบรมด้านพระพุทธศาสนาทุกระดับชั้น ตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง กำหนดฝึกอบรมคฤหัสถ์ที่มีอายุครบ 20 ปี ทุกคน ไม่ต่ำกว่า 3 วัน ใน 1 ปี คณะสงฆ์จัดงบประมาณร่วมกันเพื่อสร้างถาวรวัตถุและบูรณวัดที่ขาดแคลน และการจัดทำประกันชีวิตให้กับพระภิกษุและการจัดตั้งกองทุนสำหรับช่วยเหลือประชาชนทั่วไปกรณีฉุกเฉิน
References
กรรมการบริหารคณะธรรมยุต. (2557). ประวัติคณะธรรมยุต. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, หน้า 45.
พระครูประภัสร์สิทธิคุณ (ประสิทธ์ ปภสฺสโร). (2556). บทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2553). การบริหารการจัดการองค์กรทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, หน้า 134.
พระมหาประสงค์ กิตฺติญาโณ. (2558). พุทธวิธีการบริหารงานของพระพุทธเจ้า. นนทบุรี: วาราพับลิชซิ่ง, หน้า 48.
พระมหาสัญญา ขนฺติธมฺโม (ตรีสวัสดิ์). (2560). รูปแบบการปกครองสงฆ์ไทยในอนาคต. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวชิรสุธี. (2566). คู่มือการตรวจการคณะสงฆ์ ภาค 8 (ธรรมยุต) จังหวัดเลย. เลย: สำรวย ก๊อปปี้ บ้านใหม่ การพิมพ์, หน้า 150.
พระราชวรเมธี, ดร. และคณะ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ”. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, หน้า 17-18.
พระศักดา วิสุทธิญาโน. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสามารถ กนฺตวีโร. (2550). การบริหารปัจจัย: กรณีศึกษาพระทัพพมัลลบุตรเถระ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการแพร สุมงฺคโล (บุตรสองคอน). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563, หน้า 75-81.
พระมหาสัญญา ขนฺติธมฺโม (ตรีสวัสดิ์). (2560). รูปแบบการปกครองสงฆ์ไทยในอนาคต. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 4, 10, 22, 23. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.